การเตรียมความพร้อมและเสริมสร้างความมั่นใจของนักศึกษาในการปฏิบัติงาน รายวิชา พย.๑๓๒๒ A/ปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ ๑A

การเตรียมความพร้อมและเสริมสร้างความมั่นใจของนักศึกษาในการปฏิบัติงาน ณ แผนกผู้ป่วยนอกสูตินรีเวชกรรมและวางแผนครอบครัว (ANC) โรงพยาบาลพระปกเกล้า รายวิชา พย.๑๓๒๒ A/ปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ ๑A ภาคการศึกษาที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ …………………………………………………………………….. ผู้เขียน  อาจารย์ขนิษฐา  เมฆกมล ผู้ร่วมจัดการความรู้       อาจารย์ธนพร  ศนีบุตร  อาจารย์อารีรัตน์  วิเชียรประภา และนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ ๓ แต่ละกลุ่มที่ขึ้นปฏิบัติงาน ณ แผนกผู้ป่วยนอกสูตินรีเวชกรรมและวางแผนครอบครัว (ANC) โรงพยาบาลพระปกเกล้า           จากผลการสำรวจความพึงพอใจของการได้รับบริการจากนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ ที่ปฏิบัติงาน ณ แผนกผู้ป่วยนอกสูตินรีเวชกรรมและวางแผนครอบครัว (ANC) โรงพยาบาลพระปกเกล้า พบว่าความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อนักศึกษาที่มากที่สุด ๓ อันดับแรก ได้แก่ พฤติกรรมการให้บริการยิ้มแย้ม แจ่มใส การเปิดโอกาสให้พูดคุยซักถาม และการให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ สำหรับข้อที่พบว่าผู้รับบริการพึงพอใจน้อยที่สุดใน ๓ อันดับสุดท้าย ได้แก่ การจดจำในรายละเอียดและความต้องการของผู้รับบริการ ระยะเวลาในการซักประวัติและระยะเวลาในการตรวจร่างกาย/การตรวจครรภ์ จากข้อมูลดังกล่าวอาจารย์นิเทศและนักศึกษาที่ขึ้นปฏิบัติงาน จึงได้มีการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน [...]

Tags: , , , , , , , , , , ,

การตรวจวัดค่าปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (Hematocrit= Hct)

การตรวจวัดค่าปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (Hematocrit= Hct) ส่วนใหญ่ทำกับผู้ป่วยที่มีการเสียเลือด หรือมีความบกพร่องเกี่ยวกับเม็ดเลือดเช่น ผู้ป่วยหลังผ่าตัด ผู้ป่วยที่ได้รับเลือด ผู้ป่วยอาเจียนเป็นเลือด ประสบอุบัติเหตุเสียเลือด ผู้ป่วยโรคโลหิตจาง เด็กทารกที่มีอาการเหลือง ๑.      อุปกรณ์ที่ใช้ 1.1    capillary tube      จำนวน  ๒ หลอด 1.2   ดินน้ำมัน 1.3   อุปกรณ์เจาะเลือด (Lancet) 1.4   Hematocrit centrifuge 1.5   Graphic Reader ๒.      วิธีการเจาะเลือด มีขั้นตอน ดังนี้ 1.6   ทำความสะอาดผิวหนังด้วยแอลกอฮอล์ ๗๐% รอให้แห้ง 1.7   บีบปลายนิ้วให้เลือดมาคั่งจนผิวเป็นสีแดง 1.8   ใช้เข็มหรือมีด (Lancet) เจาะผิวหนัง 1.9   นำหลอดบรรจุเลือด( capillary tube)ด้านที่มีรอยขีดสีแดง (มีสารเฮปารินเคลือบ) มารอรับเลือด ให้เลือดไหลเข้าไป ๓/๔ ของหลอด 1.10           [...]

Tags:

DM Care Model ในชุมชน

โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและวิชาการร่วมกับแหล่งฝึก ระหว่างวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี  และกลุ่มการพยาบาล  โรงพยาบาลพระปกเกล้า ครั้งที่  9 วันที่  10 กันยายน  2555  เวลา 13:30-16:00 น. ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์  วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี   เรื่อง    DM Care Model ในชุมชน วิทยากร    นายแพทย์วีระ  สุเจตน์จิตต์   นายแพทย์เชี่ยวชาญ  ผู้อำนวยการ รพ.แหลมสิงห์ ผู้เข้าร่วมประชุม  จากวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี จำนวน  20 คน จากโรงพยาบาลพระปกเกล้า  10  คน รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด   30  คน สรุปสาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้           สรุปประเด็นสำคัญจากการนำเสนอของนายแพทย์วีระ  สุเจตน์จิตต์ การส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างเบาหวานและความดันโลหิตสูง ของโรงพยาบาล แหลมสิงห์ ชื่อโครงการ “สุขภาพดีวิถีชีวิตไทยสไตล์แหลมสิงห์ Laemsing Chronic Care Model”  [...]

Tags: , , , , ,

สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน กลุ่มงานธุรการ ห้องพิมพ์ และห้องโสต

  สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โครงการ “แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาคน พัฒนางาน สร้างเสริมค่านิยมองค์กร”                                                                         ณ  ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน                                                                         กลุ่มห้องธุรการ  ห้องพิมพ์ และห้องโสต ผู้เขียน อ.นุชนาถ  ประกาศ ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นางสาวชลิตา  วรวุฒิพิศาล นางสาวภณิดา  สิทธิเวช นางนันท์นภัส  ฟั่นแจ้ง นางสาวชาภณัฏฐ์ญา  ญาสิภูมิศิลชิต นางลำยอง  ศรีจันทร์ นางพูลสุข  ผิวศิริ นางสาวรุ่งทิวา  รัตนาธรรม นางอนัญญา  สิงห์จาน นางกัญญา  เดือนแรม นางสาวชมพู  เนินหาด นายไพรัตน์  กลิ่นระรื่น นายมานัส  สิทธิเวช นายอภิมุข  สุขสิงห์ ๑.      สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงานโรงแรมเมอร์เคียว -          ด้านระบบการบริหารจัดการงานโรงแรม มีความชัดเจนในการบริหารจัดการ เช่น มีแผนผังการจัดการด้านการทำงานและสถานที่จัดบริการต่าง ๆ ภายในโรงแรม มีการแบ่งงานตามภาระหน้าที่    ไม่ใช้บุคลากรจำนวนมากนักแต่การทำงานจะเน้นคุณภาพของงานเป็นสำคัญ มีการจัดบริการเพิ่มตามความต้องการของลูกค้า [...]

ประโยชน์ของการบูรณาการการเรียนการสอนกับบริการวิชาการ ในงานส่งเสริมสุขภาพจิต

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคณาจารย์ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี เรื่อง “ประโยชน์ของการบูรณาการการเรียนการสอนกับบริการวิชาการ ในงานส่งเสริมสุขภาพจิต” ผู้เขียน  อ.โศภิณสิริ   ยุทธวิสุทธิ ผู้บันทึกการเรียนรู้   อ.อรัญญา  บุญธรรม วันที่ประชุม     20  กันยายน 2555 อาจารย์ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1. อ.วราภรณ์   จรเจริญ 2. อ.อรัญญา     บุญธรรม 3. ดร.เชษฐา      แก้วพรม 4. ดร.ศรีสกุล     เฉียบแหลม 5. อ.ลลนา        ประทุม 6. อ.เพ็ญนภา     พิสัยพันธุ์ 7. อ.มงคล  ส่องสว่างธรรม ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการจัดโครงการบูรณาการการเรียนการสอนให้นักศึกษาพยาบาลได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในโครงการบริการวิชาการแก่สังคมด้านการสร้างเสริมสุขภาพจิตชุมชนเป็นประโยชน์ร่วมกันอย่างยิ่ง เพราะแต่ละคนต่างมีศักยภาพที่มีความเด่นแตกต่างกัน  นักศึกษาพยาบาลมีความรู้ด้านตำราแต่ขาดทักษะและประสบการณ์ด้านการทำงานในชุมชน  ส่วนอสม.มีทักษะในการอยู่ร่วมกับชุมชนแต่อาจจะขาดองค์ความรู้เชิงวิชาการ ต่างคนต่างถ่ายทอดประสบการณ์ที่ตนเองมี ต่างเติมเต็มให้แก่กันและกัน สิ่งที่ได้คือประสบการณ์ชีวิตที่มีคุณค่า ซึ่งหาไม่ได้จากตำราใดๆ  บทบาทและบุคลิกภาพของนักศึกษาพยาบาลที่เข้าไปปฏิบัติงานร่วมกับชุมชนและประสบความสำเร็จในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพจิตให้แก่ชุมชนได้  เป็นที่รักใคร่และยอมรับของคนในชุมชนคือ อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ถือว่าตนเองมีความรู้เหนือกว่าคนในชุมชน  ยอมรับและรับฟังปัญหาของเขาโดยไม่ใช้ตนเองเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจแทนผู้อื่น  เอาใจใส่ที่จะช่วยเหลือทั้ง case และครอบครัวอย่างเต็มใจ [...]

Tags: , , , ,