การพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง

ความรู้ที่ได้จากการร่วมประชุม ครอบครัวชุมชนเข้มแข็ง

กรอบแนวคิดการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งแบบยั่งยืนทางด้านสุขภาพ
Conceptual Framework of Sustainable Community Development on Health

หลักการสำคัญ ในการจัดการสุขภาพในของชุมชน
1. ชุมชนต้องรู้ปัญหาของตนเอง
2. ต้องรู้ว้าตนเองมีต้นทุนอะไรบ้าง
3. จะนำทุนมาแก้ไขปัญหา
4. ต้องมีแกนนำที่แก้ปัญหาได้แล้วและทำเป็นแบบอย่าง
5. ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์แบบของชุมชน เป็นสิ่งพิสูจน์และทำให้เกิดการยอมรับ และทำตามในชุมชน
6. ใช้การสื่อสารสุขภาพในชุมชน เป็นตัวเชื่อม
7. กระบวนการการจัดการความรู้ของชาวบ้าน โดยส่งเสริมให้ชาวบ้านได้เรียนรู้ผลการดำเนินการแก้ปัญหาสุขภาพในชุมชน ใช้วิธีการแบบชาวบ้าน
8. บทบาทของท้องถิ่นสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นต้นแบบ และนำข้อมูลของชาวบ้านเข้าสู่ระบบการจัดการของท้องถิ่น และสนับสนุนงบประมาณ
9. ท้องถิ่นเป็นผู้สร้างกระแส และเป็นตัวเชื่อมกับภายนอก
10. ถ้าชุมชนใดมีผู้บริหาร อปท. เป็นโรคเรื้อรัง ต้องใช้โอกาสในการทำคนนี้มาเป็นแกนนำ
11. การให้ความสำคัญของเรื่อง Prevention and promotion ยังชัดเจน
12. ถ้าชุมชนยังไม่กินดีอยู่ดี คนจะไม่คิดถึงสุขภาพ **สอน นศ. ให้ Convince ให้คนเห็นว่า ถ้าเขาจัดการสุขภาพได้ เขาจะมีกิน

ด้านการสื่อสารสุขภาพ
1. การสื่อสารเปลี่ยนรูปแบบ มีเทคโนโลยีมากขึ้น เป็นดาบสองคม
2. จนท. ต้องเลือกประโยชน์มาใช้ในการสื่อสารสุขภาพ
3. ต้องทำให้ประชาชนรู้เท่าทันสื่อ วิเคราะห์และเลืกรับข่าวสารผ่านสื่ออย่างเหมาะสม
การสื่อสารในครบครัว
1. การสื่อสารในครบครัวต้องปรับเปลี่ยน เพราะสภาพครอบครัวเปลี่ยนไป สังคมเปลี่ยน ต้องมีการจัดการครอบครัวตามสภาพครอบครัวที่เป็นอยู่
2. เรื่องสัมพันธภาพมีผลมากกับความสุขในครอบครัว

การจัดความรู้
1. การจัดการความรู้หมายถึง การนำความรู้จากการปฏิบัติจริงมาเรียนรู้ร่วมกัน ไม่ใช่จากตำราหรืองานวิจัย
2. การจัดการความรู้ต้องอยู่บนพื้นฐานของการใช้สมาชิกที่ร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. เห็นกระบวนการที่เขาทำเป็นการนำเสนอ Explicit k ได้ จากปฏิบัติงานจริง ซึ่งเป็น tacit k ของผู้ปฏิบัติ การที่ไปร่วมประชุมเราได้นำ Explicit k มารวมกับ tacit k ในตัวเราแล้วมาแลกเปลี่ยนกัน เกิดเป็น Explicit k
4. การบวนการ KM จะได้สัมพันธภาพของผู้ร่วมงานที่ดีขึ้น ให้กำลังใจกัน ว่าทุกคนก็ทำเหมือนกันได้

การประยุกต์ใช้

การเรียนการสอน
- วิชาชุมชน ภาคปฏิบัติ เพิ่มกลยุทธการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเน้นที่การค้นหาชุมชนต้นแบบ
 ในการดำเนินโครงการต้องให้เห็นผลเชิงประจักษ์ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน
 สอนนักศึกษาให้มีสมรรถนะที่จะส่งเสริมให้คนเห็นว่า ถ้าเขาจัดการสุขภาพได้ เขาจะมีกิน
 ภาคทฤษฎี ในการสอนเรื่องการรวบรวมข้อมูลของชุมชน ต้องเน้นเรื่องการหาคนต้นแบบ

- วิชาสื่อสารทางการพยาบาล
ต้องออกแบบการเรียนการสอนให้เด็กได้แนวคิด และทักษะ ในการเป็นผู้สื่อสาร และเลือกใชสื่ออย่างเท่าทัน เพราะการสื่อสารที่ดี จะส่งผลการผลอย่างมากต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
- สอนเทคนิคการสร้างกระแสโดยสื่อ
- ให้นักศึกษาปฏิบัติการสื่อสารสุขภาพ แบบสื่อสารมวลชน (Mass Communication)
- ปรับเนื้อหาการสอนเรื่องครอบครัวที่มีภาวะเสี่ยง โดยเพิ่มการมองบริบทของครอบครัวที่เพิ่มขึ้น

การบริการวิชาการ
จัดบริการวิชาการที่ส่งเสริมความเข้าใจของผู้นำชุมชน ให้เห็นถึงการพัฒนาชสุขภาพควบคู่กับการพัฒนาด้านอื่น ๆ

การวิจัย
- เห็นข้อมูลที่สนับสนุนการกำหนดทิศทางของอัตลักษณ์ของ วพ. ที่ให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
- การทำวิจัยของ วพ. ต้องลงไปในชุมชน และใช้หลักการการมีส่วนร่วม การให้ชุมชชนเห็นปัญหา และทุนที่มีอยู่ และใชทุนในการปัญหา จะทำให้เกิดชุมชนที่เข้มแข็งแบบยั่งยืน

การกิจการนักศึกษา
กิจการนักศึกษาต้องส่งเสริมสมรรถนะของ นักศึกษาในการรู้เท่าทันสื่อ

Print Friendly
ผู้เขียน ดร.ปิ่นนเรศ กาศอุดม (ประวัติการเขียน 2 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสังกัด ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน


Tags:

Comments are closed.