กลยุทธ์สู่ความสำเร็จในการสอบขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาล

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

รายงานการประชุม COP ฝ่ายวิชาการ

ครั้งที่ 2 วันที่  19 มิถุนายน 2557  เวลา 10.00 – 12.20 น.

ณ ห้องประชุมกลุ่ม 1 อาคารอำนวยการชั้น 1 วพ.พระปกเกล้า  จันทบุรี

 

  1. เรื่อง  กลยุทธ์สู่ความสำเร็จในการสอบขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาล
  2. วัตถุประสงค์ในการดำเนินการครั้งนี้  เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการให้นักศึกษาสอบขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลผ่านทุกรายวิชา
  3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 24 คน  ได้แก่
    1. ดร.ศรีสกุล             เฉียบแหลม       ประธานกลุ่ม
    2. อ.จีราภา              ศรีท่าไฮ           สมาชิก
    3. อ.วิภารัตน์            ภิบาลวงษ์        สมาชิก
    4. อ.คนึงนิตย์            พงษ์สิทธิถาวร    สมาชิก
    5. อ.อรัญญา             บุญธรรม         สมาชิก
    6. อ.โศภิณสิริ            ยุทธวิสุทธิ        สมาชิก
    7. อ.จันทรมาศ           เสาวรส           สมาชิก
    8. อ.จารุวรรณ์           ท่าม่วง            สมาชิก
    9. อ.ทิพวรรณ            ลิ้มประไพพงษ์    สมาชิก
    10. อ.จรัญญา             ดีจะโปะ          สมาชิก
    11. อ.อารีรัตน์             วิเชียรประภา    สมาชิก
    12. อ.ทองใหญ่            วัฒนศาสตร์      สมาชิก
    13. อ.ขนิษฐา              เมฆกมล          สมาชิก
    14. อ.วรรณศิริ            ประจันโน        สมาชิก
    15. อ.เสาวภา             เล็กวงษ์           สมาชิก
    16. อ.กฤษณี               สุวรรณรัตน์      สมาชิก
    17. อ.จันทร์เพ็ญ          อามพัฒน์         สมาชิก
    18. อ.วรัญญา             ชลธารกัมปนาท  สมาชิก
    19. อ.ปาลีรัญญ์           ฐาสิรสวัสดิ์       สมาชิก
    20. อ.วารุณี               สุวรวัฒนกุล      สมาชิก
    21. ดร.ชญาดา            เนตร์กระจ่าง     สมาชิก
    22. ดร.ยศพล              เหลืองโสมนภา   สมาชิก
    23. อ.จารุณี               ขาวแจ้ง          สมาชิก
    24. อ.รัชชนก              สิทธิเวช           เลขานุการ

กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ประเด็นสำคัญ

สาระสำคัญ/ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

(เรื่องเล่าความสำเร็จ)

อ้างอิง (ชื่อ-สกุล)

1.การดำเนินการสอนเสริมในแต่ละรายวิชา ประจำปีการศึกษา 2556 การดำเนินการสอนเสริมในแต่ละรายวิชา ประจำปีการศึกษา 2556  สรุปได้ดังนี้1. วิชากฎหมายวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และจรรยาบรรณวิชาชีพและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง1.1 ใช้กระบวนการ Pre-test บรรยายสรุป เฉลยข้อสอบในกลุ่มใหญ่ ติดตามดูผลการสอบ1.2 ครั้งที่2 แบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มเก่ง – อ่อน มีการสอนไขว้กัน  ใช้กระบวนการ Pre-test บรรยายสรุป เฉลยข้อสอบ ให้นักศึกษาทำข้อสอบซ้ำ ๆ จนผ่านตามเกณฑ์จึงเปลี่ยนข้อสอบชุดใหม่

1.3 การสอนในกลุ่มเก่ง – อ่อน ใช้กระบวนการเดียวกัน  แต่พูดช้าลง  ทำให้กำกับนักศึกษาได้ง่ายขึ้น

1.4  ครั้งสุดท้ายเสริมทัศนคติให้นักศึกษาสนใจ

2. การผดุงครรภ์และการพยาบาลมารดาทารก

2.1 สอน concepts ทั้งหมดก่อน  จากนั้นให้ทำข้อสอบ  เฉลยข้อสอบ  ติดตามดูว่านักศึกษาตกเรื่องใดมาก  โดยวิเคราะห์จาก test  blue  print  และการสอนเสริม ครั้งต่อไปจะเน้นเรื่องที่นักศึกษาตกมากเป็นพิเศษ

2.2 มีการติวเป็นทีมทั้งอาจารย์รุ่นพี่และรุ่นน้อง

2.3 มีวิธีการสอนที่หลากหลาย  มีกิจกรรมสนุกสนานแต่ได้ความรู้  เล่นเกมส์  ให้ดูวิดีโอ เป็นต้น

3. การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น

3.1 สอนเสริมเนื้อหาและฝึกทำข้อสอบ  เฉลยข้อสอบ  โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มเก่ง – อ่อน

3.2 ในครั้งสุดท้ายดึงนักศึกษากลุ่มอ่อนจริง ๆ 10 กว่าคน  โดยดูจากผลการสอบวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น   จัดสอนเสริมนอกเวลา  หลัง 18.00 น. สอนให้จำ concepts สำคัญ ๆ ที่ออกสอบบ่อย ๆ  ไม่มีเอกสารให้นักศึกษาต้องจดบันทึกด้วยตนเอง  การติดตามนักศึกษากลุ่มนี้พบว่าสอบผ่านเกือบทั้งหมดไม่ผ่านเพียง 1 คน

4. การพยาบาลผู้ใหญ่และการพยาบาลผู้สูงอายุ

4.1 สอนเสริมเนื้อหา ฝึกทำข้อสอบ  เฉลยข้อสอบ  และติดตามผลการสอบ  เพื่อมาปรับการสอนในครั้งต่อไปโดยมีทีมผู้สอนหลายคน

4.2 มีการสอบปากเปล่าในช่วงการฝึกภาคปฏิบัติวิชา ปฏิบัติปัญหาสุขภาพ 1,2 และ 3

5. การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชศาสตร์

5.1 แบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มเก่ง – อ่อน โดยการสอนเสริมครั้งแรกสำหรับนักศึกษากลุ่มอ่อนจะพูดรายละเอียด concepts ส่วนกลุ่มเก่ง  จะให้นักศึกษาสอบถามข้อสงสัยที่ต้องการให้อาจารย์เพิ่มเติมให้

5.2 ให้นักศึกษาทั้งสองกลุ่มทำข้อสอบ  มีการเฉลยข้อสอบทุกครั้ง  ติดตามผลการสอบ

5.3 การติดตามผลการสอบของสบช.พบว่า  นักศึกษาทั้งสองกลุ่มสอบผ่านค่อนข้างมาก  การสอนเสริมครั้งต่อไปจึงใช้กระบวนการเดียวกัน  โดยสอน concepts ก่อนแล้วจึงให้ทำข้อสอบและเฉลยข้อสอบ

6. การพยาบาลอนามัยชุมชนและการรักษาพยาบาลเบื้องต้น

6.1 สำหรับวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน  การสอนเสริมช่วงการสอบสบช.และม.บูรพา  เน้นเนื้อหาเป็นหลักมีเอกสารประกอบการสอนให้  มีการเชื่อมโยงข้อสอบเข้าสู่เนื้อหา  จัดแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มเก่ง – อ่อน  โดยในกลุ่มอ่อนจะให้ทำข้อสอบมากกว่า  ทีมอาจารย์ที่สอนแต่ละกลุ่มจะไม่เหมือนกันทั้งหมด  หลังทำข้อสอบมีการเฉลยทุกครั้ง  การสอนช่วงก่อนสอบสภาฯเน้นการทำข้อสอบและเฉลยข้อสอบ

6.2 สำหรับวิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น  การสอนและอาจารย์ผู้สอนในแต่ละกลุ่มเหมือนกัน  มีการจัดทำเอกสารประกอบการสอนที่เป็น concepts ของวิชา  ให้ทำข้อสอบ เฉลยข้อสอบโดยเชื่อมโยงเข้าสู่เนื้อหา  หลักการคิดคำตอบ  วิเคราะห์คำถามและตัวเลือก  เพื่อเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดตามสถานการณ์ที่ให้มา  โดยมีการฝึกทำข้อสอบในชั่วโมงที่จัดให้มากกว่าทุกปีที่ผ่านมา

 

อ.คนึงนิตย์  พงษ์สิทธิถาวร

อ.ทิพวรรณ  ลิ้มประไพพงษ์

อ.วารุณี  สุวรวัฒนกุล

ดร.ยศพล  เหลืองโสมนภา

อ.อรัญญา  บุญธรรม

อ.โศภิณสิริ  ยุทธวิสุทธิ

อ.ทองใหญ่  วัฒนศาสตร์

อ.จารุณี  ขาวแจ้ง

อ.รัชชนก  สิทธิเวช

2.แนวทางในการดำเนินการให้นักศึกษาสอบขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลผ่านทุกรายวิชา ในปีการศึกษา 2557 นักศึกษาต้องสอบขึ้นทะเบียนใบ อนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาล 8 รายวิชา   วิทยาลัยควรมีแนวทางในการดำเนินการให้นักศึกษาสอบขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลผ่านทุกรายวิชาดังนี้1. กระบวนการจัดการเรียน1.1 ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ  ในการวางแผน                การจัดการเรียนการสอน (มคอ.3,4) ควรเพิ่มเติมเนื้อหา              ให้ครอบคลุมตาม test blue print ของสภาการพยาบาล1.2 อาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติมีการเชื่อมโยงสถานการณ์จริงในหอผู้ป่วยหรือในชุมชนเข้ากับแนวข้อสอบตาม test blue print ของสภาการพยาบาล

2. การจัดโครงการสอนเสริม

2.1  ฝ่ายวิชาการเป็นผู้รับผิดชอบหลักโดยมีตัวแทนของแต่ละรายวิชาที่ต้องสอบขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลอย่างน้อยวิชาละ 1 คน  (9 คน)

2.2  เชิญอาจารย์พิเศษมาสอนเสริม  โดยเชิญมาสอนตั้งแต่นักศึกษาเรียนจบในรายวิชาที่ต้องสอบขึ้นทะเบียนฯ  เพื่อให้นำความรู้มาใช้ในการสอบรวบยอดของสบช.ได้ด้วย

2.3  การเปลี่ยนแปลงวัน – เวลา ในการสอนเสริมควรมีการแจ้งให้ผู้สอนทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์

2.4  ทุกรายวิชาควรมีเอกสารประกอบการสอนที่สอดคล้องกับ blue print ของสภาการพยาบาล  มีการฝึกทำข้อสอบและต้องเฉลยข้อสอบทุกครั้งโดยบอกเหตุผลในแต่ละตัวเลือกด้วยว่าถูกหรือผิดเพราะเหตุใด

2.5  การสอนเสริมควรเน้นเนื้อหาที่สำคัญจริงๆ และใช้สื่อการสอนใหม่ที่ไม่เหมือนกับตอนที่เรียนในรายวิชา

3. บทบาทอาจารย์ประจำชั้น

3.1  นำแนวทางการดำเนินการเชิงกลยุทธ์ที่ใช้ในนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตรุ่นที่ 45 มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละชั้นปี  ซึ่งควรเริ่มดำเนินการตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 และดำเนินการต่อเนื่องจนถึงชั้นปีที่ 4 โดยใช้ 3 ยุทธศาสตร์คือ รวมใจเป็นหนึ่ง  ถมให้เต็ม  และซ้อมรบ

    3.2  ในการทำกิจกรรมต่าง ๆในแต่ละชั้นปี ควรให้อาจารย์ที่ปรึกษาของนักศึกษาในชั้นปีนั้นมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมด้วย

4. บทบาทอาจารย์ที่ปรึกษา

4.1  ติดตามผลการเรียนของนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ

4.2  ดำเนินการบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาตามระบบอาจารย์ที่ปรึกษาแบบใหม่

 

สมาชิกทุกท่านร่วมกันแสดงความคิดเห็น

 

 

ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้

1. การดำเนินการสอนเสริมในแต่ละรายวิชา ประจำปีการศึกษา 2556 มีข้อดีที่แตกต่างกัน  สามารถนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับนักศึกษาและรายวิชาที่รับผิดชอบได้

2. การปฏิบัติตามแนวทางในการดำเนินการให้นักศึกษาสอบขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลผ่านทุกรายวิชา  ต้องมีความร่วมมือกันทั้งอาจารย์และนักศึกษาจึงจะประสบความสำเร็จ

 

แนวทางการนำความรู้ไปใช้

นำแนวทางในการดำเนินการให้นักศึกษาสอบขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลผ่านทุกรายวิชา  ไปปรับใช้ให้เหมาะสมในแต่ละรายวิชา  โดยในปีการศึกษานี้สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกคือการทำกิจกรรมเพื่อให้นักศึกษาเกิดพลังและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน  มุ่งสู่เป้าหมายการสอบผ่าน 100% ไปด้วยกัน

 

จบกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ครั้งที่ 2 เวลา 12.20 น.

 

 

 

(นางรัชชนก   สิทธิเวช)  ผู้จดบันทึก

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

 

Print Friendly
ผู้เขียน อ.รัชชนก สิทธิเวช (ประวัติการเขียน 28 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสังกัด ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล และบริหารวิชาชีพ


Tags: , , ,

Comments are closed.