สรุปประเด็นสำคัญการเตรียมสอบสภาฯ ของผู้สำเร็จการศึกษาที่เข้าสอบ ปีการศึกษา 2552

สรุปประเด็นสำคัญการเตรียมสอบสภาฯ ของผู้สำเร็จการศึกษาที่เข้าสอบ ปีการศึกษา 2552

1.  เทคนิควิธีการเตรียมสอบฯ ที่เป็นประโยชน์

                1.1 วิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน  

-  การทำข้อสอบมากๆ อาจารย์เฉลยและตีความ โดยเฉพาะการหา keywords ในคำถาม เช่น การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องนึกถึงการมีส่วนร่วมของ บ้าน วัด โรงเรียน

- การติวแบบ concept ในหัวข้อต่างๆ เช่น ระบาดวิทยา โดยอาจารย์ และการเลือกตอบอย่างมีหลักการ การตัดตัวเลือกที่ไม่ถูกออก

- การอ่านหนังสือตาม Blueprint ข้อสอบสภาฯ ที่อาจารย์แจกให้

                1.2  การรักษาโรคเบื้องต้น – ข้อสอบวัดความรู้ความเข้าที่ไม่ลึกซึ้งมากนัก  เป็นความรู้จากการเรียนและทฤษฎี และการฝึกปฏิบัติวิชาการรักษาโรคเบื้องต้น และวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ เนื้อหาที่ควรเพิ่มเติมให้มากขึ้น คือ การวิเคราะห์ผล lab ในโรคต่างๆ

                1.3  วิชาการพยาบาลเด็ก ข้อสอบออกตาม Blueprint และตามที่อาจารย์ติวให้  อาจารย์วารุณีชี้ประเด็นสำคัญของโรคต่างๆในเด็ก และพัฒนาการในช่วงต่างๆของเด็ก  การทำความเข้าใจเนื้อหาแบบเชื่อมโยง ช่วยให้มีหลักในการจำและทำข้อสอบได้

                1.4  วิชาการพยาบาลผู้ใหญ่

- ต้องใช้ความเข้าแบบ concept ตัดตัวเลือก เน้นการพยาบาล เช่น ให้ชื่อโรคมาและถามการพยาบาล

-  เนื้อหาที่ควรเพิ่มเติม คือ นรีเวช และ ตา หู คอ จมูก

-  วิธีการเตรียมสอบที่เป็นประโยชน์ ได้แก่ การทำข้อสอบในชั้นเรียน  อาจารย์เฉลยและอธิบายเหตุผล  การจับกลุ่มติวกันเองที่หอพักทั้งนศ.หญิง และ นศ.ชายที่พักอยู่นอกวิทยาลัย การถกเถียงกัน ช่วยให้จำได้ดีขึ้น  การอ่านเองโดยใช้สาระทบทวน (แต่มีเนื้อหาบางที่ไม่ถูกต้อง)โดยต้องอ่านหนังสืออื่นๆประกอบด้วย  การอ่านทบทวนจากเอกสารประกอบการสอนที่เคยเรียนในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ

                1.5  การพยาบาลผู้สูงอายุ

                                -  ข้อสอบมีส่วนที่วัดความจำ เช่น ทฤษฎีผู้สูงอายุ และวัดความเข้า/นำไปใช้  เช่น ถามเกี่ยวกับการพยาบาล

                                -  การตอบข้อสอบควรใช้หลักการหรือ concept เช่น แนวทางการดูแลผู้สูงอายุมีหลักสำคัญที่การสนับสนุนให้ผู้สูงอายุช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด

                                -  แนวคิดในการทำข้อสอบ ได้จากการทำข้อสอบมากๆ และการเฉลยและอธิบายของอาจารย์ โดยข้อสอบต้องมีความหลากหลาย เพื่อให้ครอบคบุมเนื้อหาและได้รู้รายละเอียดอย่างชัดเจน

                                -  การทำข้อสอบเป็นกลุ่ม โดยมีผู้นำกลุ่ม ทำหน้าที่ดูแลควบคุมให้สมาชิกทำข้อสอบอย่างครบถ้วนและตั้งใจ อาจารย์ควรเป็นผู้เฉลย เพราะสามารถอธิบายข้อสงสัยให้นักศึกษาได้ ถ้านักศึกษาเฉลยกันเองก็จะรู้ได้แต่คำตอบว่าถูกหรือผิด แต่ส่วนใหญ่ไม่มั่นใจว่าอธิบายเหตุผลได้ถูกต้องหรือไม่

                1.6  วิชาการผดุงครรภ์

                                – ต้องตั้งใจเรียนตั้งแต่เรียนวิชาการพยาบาลมารดาทารกฯ 1 และ 2  (ทั้งการพยาบาลสูติศาสตร์ที่ปกติและผิดปกติ)

                                – ต้องเข้าใจและจำกลไกการคลอดแต่ระยะ รวมทั้งกายวิภาคและสรีระฯ ระบบสืบพันธุ์ได้

                                – ข้อสอบเน้นความเข้าใจและการนำไปใช้ โจทย์ยาว ใช้เวลามากเพื่อทำความเข้าใจ

                                – ควรอ่านสาระทบทวนตั้งแต่ต้น จนจบ หรือสรุปเองก็ได้ ถ้าสามารถทำได้

                                – ควรสอนการอ่านและทำความเข้าใจโจทย์ การตีความโจทย์ จับประเด็นให้ได้ว่าโจทย์ถามอะไร โดยการฝึกทำจากโจทย์ข้อสอบจริง ถ้าฝึกทำมากๆ จะสามารถหาคำที่ชี้แนะคำตอบในโจทย์ได้

                                – ควรแยกนักศึกษากลุ่มเก่งกับกลุ่มอ่อนในการติวเป็นบางช่วง เพราะนักศึกษากลุ่มอ่อนไม่กล้าถามและตามไม่ค่อยทัน ทำให้บางครั้งก็ไม่รู้ว่าจะถามอะไร

                1.7  การพยาบาลมารดาและทารก

                                – ข้อสอบยากมาก ต้องใช้ความจำตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงทางสรีระของการตั้งครรภ์ ในแต่ละไตรมาส

                                – ควรอ่านสาระทบทวนให้จบอย่างน้อย 1 รอบ หรืออ่านเอกสารประกอบการสอนที่เรียนในห้องเรียนตั้งแต่แรก

                1.8  สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์

                                – ถ้าทบทวนหลายๆครั้งและทำข้อสอบหลายๆรอบ จะครอบคลุมเนื้อหาของวิชานี้

                                – การเรียนภาคปฏิบัติ และconference ช่วยให้เข้าใจเนื้อได้มากขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการสอบ

                                – การสอบซ่อมวิชาทฤษฎีและ progress test ช่วยให้เข้าใจมากขึ้น เป็นประโยชน์

                                – การแยกนักศึกษากลุ่มเก่งกับกลุ่มอ่อนในการติวเป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะนักศึกษากลุ่มอ่อนไม่กล้าถามและตามไม่ค่อยทัน ทำให้บางครั้งก็ไม่รู้ว่าจะถามอะไร

                                – การแบ่งกลุ่มย่อยไม่ควรมีนักศึกษาเกิน 20 คนต่อกลุ่ม

                1.9  กฎหมายฯ

                                – ข้อสอบ 20 ข้อแรก เป็นการวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย ต้องใช้หลักกฎหมายในการตอบ โดยใช้ความจำและจับประเด็นโจทย์ให้ได้ ว่าต้องการวัดข้อกฎหมายใด

                                – อ่านและทบทวนข้อกฎหมายที่เรียนก่อนที่จะติว โดยอ่านจากเอกสารที่เรียนในชั้นเรียน เช่น พรบ วิชาชีพ และข้อกฎหมายทั่วไป

                                – ข้อสอบ 20 ข้อหลัง เป็นการวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุผลทางจริธรรม ใช้ความรู้ทางจริยศาสตร์ ในการตอบ ควรจำเนื้อหาให้ได้ ใช้เหตุผลทางจริยธรรมในการตอบ โดยพิจารณาตัวเลือกให้รอบคอบ ต้องพิจารณาคำที่เป็น guide ในการตอบ และต้องใช้การตีความ การเฉลยข้อสอบ หรือ discuss กันเองของนักศึกษาในระหว่าดูหนังสือ ช่วยให้จำเนื้อหาได้มากขึ้น

                สำหรับวิชานี้ มีนักศึกษาสอบไม่ผ่านเป็นจำนวนมากกว่าวิชาอื่นซึ่งนักศึกษาบางคนมีผลการเรียนดีมาก และตั้งใจดูหนังสือ น่าจะเป็นเพราะเครียดเกินไป  ไม่พิจารณาโจทย์และตัวเลือกอย่างรอบคอบ หรือไม่แยกการใช้หลักการทางกฎหมาย หรือจริยธรรมตอบข้อสอบ ซึ่งมีความแตกต่างกัน (กฎหมายต้องใช้หลักการที่ตรง (ค่อนข้างใจร้าย)  จริยศาสตร์ต้องใช้เหตุผลแบบใจดี)

 

เทคนิคการทำข้อสอบ 

                – ถ้าตอบไม่ได้ ให้เดาตอบไปเลย ไม่ต้อเว้นไว้ เพราะมักไม่มีเวลากลับมาอ่านอีก หรือสุดท้ายก็ต้องเดาอยู่ดี นอกจากนั้นถ้าเว้นไว้ อาจทำให้ ทำข้อสอบหลงข้อได้

                – ต้องมีวิธีควบคุมความเครียด ก่อนทำข้อสอบ ขณะทำข้อสอบ และหลังทำข้อสอบ แต่ละวิชา เพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับการทำข้อสอบในวิชาต่อมา ไม่ต้องกังวลกับวิชาที่ทำไปแล้ว ต้องมีสมาธิขณะทำข้อสอบ  มีเวลาน้อย ถ้ากังวลจะทำข้อสอบได้ช้า และต้องอ่านซ้ำหลายครั้ง

ข้อเสนอแนะ

                – วิทยาลัยควรมีมาตรการกดดันนักศึกษาให้มีประสบการณ์ในการทำข้อสอบภายใต้ความรู้สึกกดดันบ้าง เช่น ถ้าสอบไม่ผ่านข้อสอบเครือข่าย หรือข้อสอบ ม.บูรพา จะต้อง…. (ที่มีผลกระทบต่อตัวนักศึกษาที่สอบไม่ผ่าน)

                – ตลอดการเตรียมตัวสอบ นักศึกษามักจะบ่นว่าหนัก เหนื่อย แต่อาจารย์ก็ไม่ควรปล่อยให้นักศึกษาอ่านหนังสือเอง เพราะอ่านได้น้อย ใช้เวลาไม่คุ้มค่า นักศึกษาจะซาบซึ้งเองเมื่อต้องไปสอบจริง และเข้าใจว่าทำไมอาจารย์จึงต้องบังคับ

                – ในการอ่านหนังสือ/ทบทวนเอง นักศึกษาอาจใช้ mind mapping ในการสรุปเนื้อหา

                – ในการทบทวน ถ้าให้นักศึกษาอ่านเอง ควรให้ส่งสรุปประเด็นสำคัญ ให้อาจารย์ตรวจสอบ เพราะถ้าไม่กำหนดให้ทำ หรืออาจารย์ไม่ตรวจนักศึกษาก็จะไม่ทำ หรือไม่ตั้งใจทำ

                – เอกสารประกอบการสอน ควรมีรายละเอียด ซึ่งนักศึกษาสามารถ นำมาอ่านทบทวนได้เมื่อเตรียมสอบสภาฯ

                – เนื้อหาบางอย่างควร update โดยเฉพาะการปฏิบัติ เช่น การทำแผล การตรวจพิเศษ การบันทึกทางการพยาบาล  และ NI

ผู้ให้ข้อมูล: ผู้สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2552 จำนวน 7 คน

ผู้จดบันทึก: อาจารย์มัณฑนา เหมชะญาติ

19 เมษายน 2553

Print Friendly
ผู้เขียน ดร.มัณฑนา เหมชะญาติ (ประวัติการเขียน 19 เรื่อง)

รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและการจัดการความรู้ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี


Tags: ,

One Response to “สรุปประเด็นสำคัญการเตรียมสอบสภาฯ ของผู้สำเร็จการศึกษาที่เข้าสอบ ปีการศึกษา 2552”

  1. ผู้สอน พูดว่า:

    จะนำไปปรับใช้ในรายวิชาที่รับผิดชอบตามคำแนะนำค่ะ