ผู้เขียน : ดร.กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง
12/24/10
ประชากรของจังหวัดจันทบุรี เป็นหนึ่งในกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน หรืออันตรายจากการเป็นโรคเรื้อรัง หากไม่มีการป้องกัน หรือควบคุมโรคอย่างจริงจัง และเร่งดวน เนื่องจากมีอัตราการเจ็บป่วยของประชากรในจังหวัดจันทบุรี ติดอันดับ 1 ใน 5 อันดับแรกของประเทศไทย อยู่หลายรายการ จากรายงานข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ปี 2550 พบว่า จังหวัดจันทบุรี เป็นอันดับที่ 2 ของจังหวัดที่มีผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมากที่สุด คือ 107.9 ต่อประชากรแสนคน เป็นอันดับที่ 3 ของจังหวัดที่มีผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม และโรคเบาหวานมากที่สุด คือ 123.6 และ1, 320.2 ต่อประชากรแสนคน และ เป็นอันดับที่ 5 ของจังหวัดที่มีผู้ป่วยโรคหัวใจมากที่สุด คือ 1,267.7 ต่อประชากรแสนคน เป็นอันดับที่ 8ของจังหวัดที่มีผู้ป่วยโรคมะเร็งตับมากที่สุด คือ 72.7 ต่อประชากรแสนคน จะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้ คนเมืองจันท์ ติดอันดับการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง มากขนาดนี้ คงจะต้องฝากคนเมืองจันท์ โดยเฉพาะบุคลากรด้านการสาธารณสุข ช่วยกันคิด วิเคราะห์ [...]
Tags: จันทบุรี, จันท์, ผลการสำรวจ, มะเร็งตับ, มะเร็งปอด, มะเร็งเต้านม, เจ็บป่วย, เรื้อรัง, โรคหัวใจ, โรคเบาหวาน
ผู้เขียน : อ.ศราวุธ อยู่เกษม
12/24/10
ทำไม Blog จึงเหมาะสมที่จะเป็นเครื่องมือในการเล่าเรื่อง (Storytelling) การเล่าเรื่องได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือหนึ่งในอีกหลายๆเครื่องมือ และการเล่าเรื่องก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นการแสดงความคิดเห็นของแต่ละคนออกมาอย่างอิสระ ในกิจกรรมต่างๆที่แต่ละคนได้ปฏิบัติหรือลงมือกระทำไป โดยมีวัตถุประสงค์ก็เพื่อที่จะค้นหาแก่นของความรู้หรือสกัดความรู้ที่ฝังลึกออกมาจากสมองนั่นเอง แต่การเล่าเรื่องที่ปฏิบัติกันโดยทั่วๆไปนั้น บางครั้งจะถูกจำกัดด้วยเรื่องของ เวลา สถานที่ จึงขอเสนอแนวทางในการเขียนเรื่องเล่าของแต่ละท่านผ่านระบบ Blog ในที่นี้จะขอแนะนำ เว็บบล๊อก httt://gotoknow.org จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเล่าเรื่องเมื่อไรก็ได้ที่อยากจะเล่า โดยเขียนลงในบล๊อก โดยที่ผู้เล่าจะสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้อ่านได้จำนวนมาก จากทุกๆที่ผ่านทางเครือข่ายเน็ตเวิร์ค นอกจากนี้ เรื่องราวที่เขียนเล่าไปแล้วนั้น ก็สามารถหาอ่านประกอบได้ง่ายตามวัน เวลาที่เขียน หรือสามารถค้นหาจากการ Search ด้วยเงื่อนไขต่างๆ และยิ่งไปกว่านั้น ระบบ Blog จะแยกแยะและจัดกลุ่มเรื่องเล่าตามเนื้อหาได้สะดวก และแสดงความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องของเรื่องเล่าต่างๆที่ได้เขียนไปก่อนหน้านี้ ได้โดยไม่ยาก ระบบบล๊อกนี้ ยังช่วยให้ผู้เล่าเรื่องที่มีความประหม่าในการเล่าเรื่องต่อสาธารณชน สามารถที่จะแสดงความกล้า ความจริงใจในความเป็นตัวของตัวเองได้มากยิ่งขึ้น ตัวผู้อ่านเองก็จะรู้จักผู้เล่าได้ง่ายและสะดวกขึ้น รวมทั้งการสนทนาให้ข้อคิดเห็นต่อเรื่องเล่าจะเป็นไปในรูปแบบสองทาง(Two-Way Communication) ระหว่างผู้เล่าและผู้อ่านบ่อยครั้งยิ่งขึ้นเช่นกัน Related Posts by Tagsรายงานการประชุมของ CoP การดูแลผู้ป่วยวิกฤติและเรื้อรังภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ [...]
Tags: km, knowledge management, การจัดการความรู้, การเล่าเรื่อง (Storytelling)