การจัดการความรู้ เรื่อง แนวทางการติวสอบสภาฯ วิชาการพยาบาลผู้ใหญ่

แลกเปลี่ยนเรียนรู้การติวสอบสภา ของ ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ในรายวิชา การพยาบาลผู้ใหญ่ ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประกอบด้วย  1 . อาจารย์  สุชาดา   นิ้มวัฒนากุล   2.  อาจารย์รัชสุรีย์  จันทเพชร  3. อาจารย์ ดร.ศรีสุดา  งามขำ            4. อาจารย์ สุปราณี  ฉายวิจิตร  5.  อาจารย์ ยศพล  เหลืองโสมนภา  6. อาจารย์รุ่งนภา  เขียวชะอ่ำ และ 7. อาจารย์ นุชนาถ  ประกาศ ภายหลังจากทางภาควิชาได้รับนโยบายในการติวมาจากฝ่ายวิชาการ  โดยแบ่ง นักศึกษาเป็น 3 ห้องนั้น อาจารย์มีความเห็นว่า การแบ่งนักศึกษาให้เหลือจำนวนน้อยลง ดีกว่าการติวเป็นห้องใหญ่เนื่องจากจะได้ติวได้ทั่วถึงและนักศึกษาจะได้สอบถามข้อสงสัยได้สะดวกขึ้น และแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับวิธีการติวในประเด็นหลัก คือ 1. จะติวอย่างไรในเวลาที่ได้มา ให้ได้ประโยขน์แก่นักศึกษามากที่สุด   2.  การติวจะต้องคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ของนักศึกษา  3. ติวโดยดูจากหัวข้อหลักที่จะทำการออกข้อสอบของสภา  4.  หาอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญและรับผิดชอบการติวในแต่ละหัวข้อ เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจประเด็นหลัก  [...]

การพัฒนาชุมชนเข้มแข็งแบบยั่งยืนทางด้านสุขภาพ

ความรู้ที่ได้จากการร่วมประชุม ครอบครัวชุมชนเข้มแข็ง หลักการสำคัญ ในการจัดการสุขภาพในของชุมชน 1. ชุมชนต้องรู้ปัญหาของตนเอง 2. ต้องรู้ว้าตนเองมีต้นทุนอะไรบ้าง 3. จะนำทุนมาแก้ไขปัญหา 4. ต้องมีแกนนำที่แก้ปัญหาได้แล้วและทำเป็นแบบอย่าง 5. ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์แบบของชุมชน เป็นสิ่งพิสูจน์และทำให้เกิดการยอมรับ และทำตามในชุมชน 6. ใช้การสื่อสารสุขภาพในชุมชน เป็นตัวเชื่อม 7. กระบวนการการจัดการความรู้ของชาวบ้าน โดยส่งเสริมให้ชาวบ้านได้เรียนรู้ผลการดำเนินการแก้ปัญหาสุขภาพในชุมชน ใช้วิธีการแบบชาวบ้าน 8. บทบาทของท้องถิ่นสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นต้นแบบ และนำข้อมูลของชาวบ้านเข้าสู่ระบบการจัดการของท้องถิ่น และสนับสนุนงบประมาณ 9. ท้องถิ่นเป็นผู้สร้างกระแส และเป็นตัวเชื่อมกับภายนอก 10. ถ้าชุมชนใดมีผู้บริหาร อปท. เป็นโรคเรื้อรัง ต้องใช้โอกาสในการทำคนนี้มาเป็นแกนนำ 11. การให้ความสำคัญของเรื่อง Prevention and promotion ยังชัดเจน 12. ถ้าชุมชนยังไม่กินดีอยู่ดี คนจะไม่คิดถึงสุขภาพ **สอน นศ. ให้ Convince ให้คนเห็นว่า ถ้าเขาจัดการสุขภาพได้ เขาจะมีกิน ด้านการสื่อสารสุขภาพ 1. การสื่อสารเปลี่ยนรูปแบบ มีเทคโนโลยีมากขึ้น [...]

Tags:

การพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง

ความรู้ที่ได้จากการร่วมประชุม ครอบครัวชุมชนเข้มแข็ง กรอบแนวคิดการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งแบบยั่งยืนทางด้านสุขภาพ Conceptual Framework of Sustainable Community Development on Health หลักการสำคัญ ในการจัดการสุขภาพในของชุมชน 1. ชุมชนต้องรู้ปัญหาของตนเอง 2. ต้องรู้ว้าตนเองมีต้นทุนอะไรบ้าง 3. จะนำทุนมาแก้ไขปัญหา 4. ต้องมีแกนนำที่แก้ปัญหาได้แล้วและทำเป็นแบบอย่าง 5. ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์แบบของชุมชน เป็นสิ่งพิสูจน์และทำให้เกิดการยอมรับ และทำตามในชุมชน 6. ใช้การสื่อสารสุขภาพในชุมชน เป็นตัวเชื่อม 7. กระบวนการการจัดการความรู้ของชาวบ้าน โดยส่งเสริมให้ชาวบ้านได้เรียนรู้ผลการดำเนินการแก้ปัญหาสุขภาพในชุมชน ใช้วิธีการแบบชาวบ้าน 8. บทบาทของท้องถิ่นสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นต้นแบบ และนำข้อมูลของชาวบ้านเข้าสู่ระบบการจัดการของท้องถิ่น และสนับสนุนงบประมาณ 9. ท้องถิ่นเป็นผู้สร้างกระแส และเป็นตัวเชื่อมกับภายนอก 10. ถ้าชุมชนใดมีผู้บริหาร อปท. เป็นโรคเรื้อรัง ต้องใช้โอกาสในการทำคนนี้มาเป็นแกนนำ 11. การให้ความสำคัญของเรื่อง Prevention and promotion ยังชัดเจน 12. ถ้าชุมชนยังไม่กินดีอยู่ดี คนจะไม่คิดถึงสุขภาพ **สอน นศ. [...]

Tags:

แนะนำ Website เรียนภาษาอังกฤษ ด้วยตัวเอง

           หลายท่านๆ ทั้งอาจารย์ และนักศึกษา มักมีปัญหาอยากเรียนภาษาอังกฤษ แต่ไม่มีเวลา อยากพูดภาษาอังกฤษ แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร  วันนี้มี 2 เรื่องที่น่าสนใจอยากนำเสนอค่ะ            เรื่องแรก ตอนนี้เราเริ่มพัฒนา Website ด้านภาษาอังกฤษแล้วนะคะ สังเกตดีดีที่มุมขวาด้านบน คลิก คำว่า English แล้วก็เข้าไปศึกษา หาข้อมูลได้เลยค่ะ มีข้อมูลหลายส่วนที่น่าจะเป็นประโยชน์ ต่ออาจารย์ และนักศึกษา เช่น International Conference, Learning English ลองเข้าไปคลิกและศึกษาดูนะคะ เนื่องจากเป็นโครงการที่เพิ่งริเริ่มจัดทำ จึงยังต้องการข้อมูล หรือ ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ จาก อาจารย์ นักศึกษาทุกท่าน            เรื่องที่ 2 มี Website เรียนภาษาอังกฤษ ดีดีที่อยากแนะนำ ให้ท่านลองหาโอกาสเข้าไปสำรวจดูค่ะ สำหรับในอนาคต Link ของ website หรือข้อมูลเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ จะ Post ไว้ที่ หน้า website ด้าน English [...]

Tags: , , , , , ,

การแก้ไขปัญหานักศึกษาไม่ส่งงานตามเวลาที่กำหนด

สภาพปัญหา  ความรับผิดชอบเป็นคุณลักษณะหนึ่งที่จำเป็นสำหรับพยาบาลวิชาชีพ   ซึ่งในการเรียน          ภาคทฤษฏีการส่งงานต่าง ๆ ตามเวลาที่แต่ละรายวิชากำหนด  เป็นพฤติกรรมหนึ่งที่แสดงถึงการมีความรับผิดชอบ   ซึ่งนักศึกษาต้องรับผิดชอบในการส่งงานตามเวลาที่กำหนด  หากไม่สามารถส่งงานได้จะต้องมีการแจ้งเหตุผลให้อาจารย์ทราบ   แต่พบว่ามีนักศึกษาไม่ส่งงานและไม่ได้แจ้งให้อาจารย์ทราบ    เมื่อตรวจสอบงานจึงพบว่านักศึกษาไม่ส่งงาน   จึงมีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหานักศึกษาไม่ส่งงานตามเวลาที่กำหนด  ให้ทันเวลาในการประเมินผลรายวิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น วัตถุประสงค์    เพื่อแก้ไขปัญหานักศึกษาไม่ส่งงานตามเวลาที่กำหนด วิธีดำเนินการ                 1.  นัดหมายกับนักศึกษาเพื่อพูดคุยและค้นหาสาเหตุของปัญหาที่ทำให้นักศึกษาไม่ส่งงานตามเวลาที่กำหนด                  2.  พูดคุยกับนักศึกษาเพื่อหาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหาการไม่ส่งงานตามเวลาที่กำหนด   โดยร่วมกันกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา   วันเวลาการส่งงาน   และเงื่อนไขหากไม่ส่งงานตามเวลาที่ได้ร่วมกันกำหนดไว้                 3.  ติดตามผลการส่งงานตามที่ได้กำหนดร่วมกัน   ระยะเวลา    ระหว่างภาคการศึกษาที่ 1 / 2553  ผลการวิจัย                 ในรายวิชา พย. 1425 การรักษาพยาบาลเบื้องต้น   ได้มอบหมายให้นักศึกษาส่งรายงานประยุกต์งานวิจัยทางสุขภาพคนละ 1 เรื่อง  โดยมอบหมายให้ทำและกำหนดวัน – เวลา  การส่งงานตั้งแต่วันแรกของการสอนในรายวิชา  ซึ่งพบว่า  มีนักศึกษา 1 คน  ไม่ส่งงานตามเวลาที่กำหนดและไม่แจ้งให้อาจารย์ทราบ   เมื่อพูดคุยกับนักศึกษาพบว่า  นักศึกษาต้องทำงานส่งในหลายวิชาจึงไม่สามารถทำได้ทันเพราะไม่ได้เริ่มทำงานตั้งแต่วันแรกที่อาจารย์มอบหมายงานให้  แต่ได้หาบทความวิจัยไว้แล้วเพียงแต่ยังทำไม่เสร็จเรียบร้อยจึงยังไม่ได้พิมพ์งานออกมาส่งอาจารย์   โดยนักศึกษาบอกว่าจะส่งงานได้ในวันรุ่งขึ้น [...]