สรุปความรู้จากการประชุม Advanced course in breastfeeding : common problems in breastfed infants

สรุปความรู้ที่ได้รับจากการไปพัฒนาตนเอง

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

ชื่อ-สกุล   นางจันทร์เพ็ญ   อามพัฒน์   ตำแหน่ง   พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

สังกัดภาควิชา     การพยาบาลสูติศาสตร์

เข้าร่วมประชุมเรื่อง    Advanced  course  in  breastfeeding : common problems  in

                            breastfed infants

วันเดือนปี    2 – 5  ตุลาคม  2554

หน่วยงานที่จัด    ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย 

สถานที่    โรงแรมมิราเคิล  แกรนด์  คอนเวนชั่น  กรุงเทพฯ

สรุปความรู้และแนวคิดที่ได้รับคือ

การให้นมแม่อย่างเดียวในระยะ 2-3  วันแรกหลังคลอด  มีความสัมพันธ์กับการเกิด  breastfeeding  jaundice  จากการได้รับน้ำนมไม่พอ  American  Academy  of  Pediatrics (AAP)  และองค์การอนามัยจึงแนะนำว่าเพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนมแม่และเพื่อให้ทารกได้น้ำนมเพียงพอ  ควรให้ทารกดูดนมแม่โดยเร็วภายใน    1  ชั่วโมงหลังเกิด  และดูดนมแม่  8-12 มื้อต่อวัน  ให้ดูดนาน  10-15 นาทีต่อเต้า  และให้ดูดทั้งสองเต้าทุกมื้อ  เพื่อให้ทารกได้น้ำนมเพียงพอ  และกระตุ้นการสร้างน้ำนมของแม่  ปลุกให้ทารกตื่นดูดนม  หากเวลาผ่านไป  4  ชั่วโมงหลังจากเวลาที่ทารกเริ่มดูดนมมื้อล่าสุด

ทารกแรกเกิดทุกคนทั้งที่ไม่ป่วยและเจ็บป่วยขณะอยู่ในโรงพยาบาลต้องได้รับการชั่งน้ำหนักอย่างน้อยวันละครั้งในเวลาเดียวกันทุกวัน  ซึ่งทารกแรกเกิดจะมีการลดลงของน้ำหนักตัวที่เป็นภาวะปรกติ (physiologic weight loss)  ได้ไม่เกินร้อยละ  10  ของน้ำหนักแรกเกิด  หลังจากนั้นน้ำหนักของทารกแรกเกิดจะเพิ่มวันละ  30  กรัม/วัน

คำแนะนำ เพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนม

  • สอนแม่ให้อุ้มลูกดูดนมให้ถูกต้อง
  • ให้ลูกดูดกระตุ้น  8-12  มื้อต่อวัน
  • ควรให้ลูกดูดนมเมื่อทารกแสดงอาการหิว  ได้แก่  การตื่นตัว (alertness) มากขึ้น  การเคลื่อนไหว (physical activity) มากขึ้น  การทำท่าดูดนม (mouthing)  หันปากหาหัวนม (rooting)  ไม่ควรรอจนกระทั่งลูกร้อง  เพราะการร้องเป็นอาการแสดงท้ายสุดของความหิว
  • ให้ดูดนานจนกระทั่งลูกพอใจ  ปรกติให้ดูดแต่ละเต้านาน  10-15 นาที
  • การเริ่มต้นการดูดแต่ละมื้อ  ให้ดูดสลับเต้าที่เริ่มต้นดูดในมื้อที่แล้ว
  • ในสัปดาห์แรกๆ  หลังคลอด  แม่อาจต้องปลุกลูกให้ดูดนม  หากลูกเว้นช่วงตื่นเพื่อดูดนมแต่ละมื้อนานเกิน  4  ชั่วโมง

ปัญหาที่พบบ่อยในทารกเมื่อเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

-  นมแม่ไม่พอในวันแรกๆหลังคลอด

หากแม่มีน้ำนมไม่พอ  ควรปฏิบัติดังนี้

  • ให้ลูกดูดกระตุ้นร่วมกับการใช้  dropper  หยอดนมผสมที่ลานหัวนมหรือใช้วิธีกาลักน้ำ
  • โดยปริมาณของนมผสมคำนวณตามสูตรดังนี้

20-30  มล. ´ น้ำหนักแรกเกิด(เป็นกิโลกรัม) ´ อายุ(นับเป็นวัน) / จำนวนมื้อนม

  • ประคับประคองแม่ไม่ให้เครียด  และอย่าปล่อยให้ลูกร้องกวน
  • ห้ามให้น้ำเปล่าหรือน้ำกลูโคส

 

-  ภาวะลิ้นถูกยึดตรึง  (Tongue – tie)

Tongue – tie  หมายถึงภาวะที่  frenulum  ยื่นใกล้ปลายลิ้นมากกว่าปรกติสั้นและ/หรือหนากว่าปรกติ  มีผลให้ด้านล่างของลิ้นถูกยึดกับพื้นของปาก  และการเคลื่อนไหวของลิ้นถูกจำกัด  ภาวะนี้เป็นแต่กำเนิด  ความรุนแรงของปัญหาขึ้นกับความรุนแรงของ  tongue-tie  และลักษณะหัวนมและเต้านมของแม่

การรักษา

  • Frenotomy  (frenulotomy) เสียเลือด  1-2 หยด  หลังการรักษาแม่รู้สึกดีขึ้นทันทีหลังผ่าตัด

ความเจ็บปวดที่หัวนมลดลงหรือหายไป  แรงดูดนมของลูกเพิ่มขึ้น  ลูกดูดนมแต่ละมื้อได้น้ำนมมากขึ้น

 

-  ตัวเหลือง

ทารกที่ได้รับนมแม่มีโอกาสเกิดตัวเหลืองได้  2  ลักษณะ  คือ  Breastfeeding  jaundice  และ  Breastmilk  jaundice

ทารกที่จะกลับบ้านและมีภาวะเหลือง  บุคลากรทางการแพทย์ต้องไม่ให้คำแนะนำที่ผิดว่า

  • ให้ป้อนน้ำลูกมากๆ
  • นำลูกตากแดดตอนเช้า

 

-  ถ่ายอุจจาระบ่อย

ทารกแรกเกิดที่เลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียวอาจถ่ายอุจจาระกะปริดกระปรอย  อาจนับการถ่ายอุจจาระได้ถึง  10-20 ครั้งต่อวัน  ขณะดูดนมแม่  บิดตัวหรือผายลมจะมีอุจจาระได้ถึง  10-20  ครั้งต่อวัน  ขณะดูดนมแม่  บิดตัวหรือผายลมจะมีอุจจาระเล็ดออกมาด้วย  ทำให้เข้าใจผิดว่าทารกท้องเดิน  ทารกมีน้ำหนักเพิ่มมากกว่าวันละ  30  กรัมต่อวัน

-  ท้องผูก

ท้องผูกในทารกแรกเกิดตัดสินจากความแข็งของอุจจาระ  ไม่ได้ดูที่ความถี่ของการถ่าย    ภายหลังคลอด  4  สัปดาห์  น้ำนมแม่จะเป็นน้ำนมแท้  ที่ไม่มีนมน้ำเหลืองเจือปน  หากทารกได้รับนมแม่ต่อไป  ทารกอาจไม่ถ่ายอุจจาระทุกวัน  อาจถ่ายวันเว้นวันจนถึง  2  สัปดาห์  โดยไม่มีอาการท้องอืด  และอึดอัด  ไม่อาเจียน  อุจจาระออกมาเป็นลำยาวและนุ่ม  คล้ายยาสีฟันที่ถูกบีบออกจากหลอด  ทารกที่ได้รับนมแม่ไม่ถ่ายทุกวัน  เกิดจากน้ำนมแม่ย่อยง่าย  ส่วนประกอบของน้ำนมแม่  จึงถูกดูดซึมโดยลำไส้เพื่อใช้ในการเติบโต  ทำให้เหลือกากที่กลายเป็นอุจจาระน้อย

-  ทารกนอนมาก (sleepy  baby)

แนวทางการแก้ไข

  • ให้ทารกดูดนมในขณะหลับตื้น (REM  sleep)
  • ลดเครื่องห่อหุ้มกาย  ให้เนื้อแนบเนื้อ  ถอดเสื้อผ้าทารกเหลือเพียงผ้าอ้อม
  • ให้ตาสบตา  โดยพยายามคุยกับทารก
  • อุ้มท่า  football  hold
  • บีบเต้าให้น้ำนมเข้าปากทารกง่ายและมากขึ้น
  • อุ้มทารกนั่ง  ใช้  doll’s  eye  technique
  • กระตุ้นทารกโดยการลูบเบาๆที่ศีรษะ  หรือหลังโดยเคลื่อนเป็นวงกลม
  • ใช้ผ้าเย็นที่เปียกเช็ดหน้าผากและแก้มทารก

 

-  ทารกกวนและดูดนมบ่อย (fuzzy  baby)

-          เกิดจากทารกได้นมแม่ไม่พอจากข้อปฏิบัติของการให้นมแม่ไม่ถูกต้อง  การปฏิบัติที่ถูกต้อง

คือ  อุ้มถูกวิธี  ดูดบ่อย  8-12  มื้อต่อวัน  และดูดนาน  10-15  นาทีต่อเต้า  และให้ดูดทั้งสองเต้าทุกมื้อ  (เฉพาะในระยะแรกหลังคลอด  ขณะที่น้ำนมแม่เริ่มถูกผลิตหรือยังไม่พอ)  หรือเคร่งครัดเวลาดูดนมมากเกินไป  ระยะแรกให้ดูดตามลูกต้องการ  อย่าเคร่งครัดกับเวลา  ให้ลูกดูดนมก่อนที่ลูกหิวมาก  ถ้าหิวมาก  ทำให้สงบโดยป้อนนมบีบเพื่อให้ทารกสงบก่อน หรือเกิดจากภาวะทารกมีลิ้นถูกยึดตรึง

 

-  การได้รับเฉพาะน้ำนมส่วนหน้า/น้ำนมแม่มีมากเกิน

การแก้ไข

  • บีบ/ปั๊มป์  น้ำนมออก  จนน้ำนมไหลช้า  ก่อนให้ลูกดูด  เพื่อลด  foremilk  ที่ลูกจะได้รับ  และกระตุ้น  letdown  reflex  ที่ทำให้น้ำนมพุ่งออกแรงในระยะแรก  ผ่านไปก่อน
  • ลดจำนวนครั้งในการดูดนมอีกเต้า  เพื่อยับยังการไหลของน้ำนมในเต้านม (galactostasis) ที่ไม่ถูกดูด  เพื่อให้สร้างนมน้อยลง
  • หลีกเลี่ยงการระบายนมจากเต้าบ่อย (ให้ลูกดูดนม)  เพราะจะกระตุ้นการสร้างน้ำนม  ยกเว้นคัดเต้านมมาก
  • ไม่ต้องกำหนดความนานของการดูดนมเต้าแรก
  • ให้ดูดนมจนเกลี้ยงเต้าก่อนให้ดูดอีกเต้า  โดยรอให้ลูกหยุดนมเองหรือดูดจนหลับ  หรือดูดกลืนช้าลง  ไม่จำเป็นต้องดูดสองเต้า  ถ้าเต้านมยังคัด  ให้บีบน้ำนมออกเท่าที่หายคัด
  • ให้ดูดเต้าเดียว (unilateral  breastfeeding)  หรือ  cetain  time  block (block  feeding)  ให้ดูดเต้าเดียวนาน  4-12  ชม.  เพื่อลดการสร้างน้ำนม
  • หากเต้านมอีกข้างมีอาการคัด  ให้บีบน้ำนมออก  เพียงพอแค่ให้หายคัด
  • ให้อุ้มท่า  football  hold  จัดให้ศีรษะลูกอยู่สูงกว่าเต้าขณะดูดนม
  • แม่นอนหงาย  ให้ลูกนอนบนอกดูดนมแม่  เพื่อต้านแรงโน้มถ่วง

 

-  การคัดจมูก

ลูกเคยดูดนมได้ดี  อยู่ๆ ดูดนม  3-4  คำ  แล้วอาปากร้อง  หรือสะบัดหน้าหนี  และร้องกวน  ไม่ดูดนม  สาเหตุที่พบบ่อยคือ  การคัดจมูก

การรักษา

  • หยอดน้ำเกลือเข้ารูจมูกข้างละ  5  หยด ทุก 2-3 ชั่วโมง
  • หากไม่ได้ผล  ให้ใช้สำลีพันปลายไม้ที่เตรียมเองและมีขนาดเรียวเล็ก  ชุบน้ำเกลือเช็ดในรูจมูก  หากเกิดจากน้ำมูก  การเช็ดน้ำมูกออก  อาการคัดจมูกจะหายไป  หากมีน้ำมูกมาก  ให้ใช้  finger  tip  connector  ดูดรูจมูกแต่ละข้าง  ด้วยแรงดูด  -100  มม.ปรอท
  • หากไม่ได้ผล  ให้หยอดยาที่ทำให้เยื่อบุจมูกยุบบวม (0.5% ephedrine,  0.025% oxymetazoline HCI)  ทุก 8  ชั่วโมง

 

Print Friendly
ผู้เขียน อ.จันทร์เพ็ญ อามพัฒน์ (ประวัติการเขียน 5 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสังกัด ภาควิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์


Tags: , , ,

One Response to “สรุปความรู้จากการประชุม Advanced course in breastfeeding : common problems in breastfed infants”

  1. สุนิสา พูดว่า:

    นมแม่จะมีประโยชน์มากถ้าเดินสายกลาง