กลยุทธ์การสร้างทักษะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สู่การเรียนการสอน ครั้งที่ 4
วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
สรุปการดำเนินการ COP ครั้งที่ 4
ภาควิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์
วันที่ 2 มิถุนายน 2557 เวลา 9.00 – 10.30 น.
ณ ห้องพักอาจารย์ภาควิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์
วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
1. เรื่อง “ กลยุทธ์การสร้างทักษะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สู่การเรียนการสอน”
2. วัตถุประสงค์ในการดำเนินการครั้งนี้
2.1 เพื่อสรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โครงการบูรณาการรายวิชา พย.1322 B ปฎิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 1B กับการบริการวิชาการ “ นมแม่ : เรื่องหน้ารู้สู่การปฎิบัติ”
3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 13 คน ได้แก่
1. นางขนิษฐา เมฆกมล ประธานกลุ่ม
2. นางจันทร์เพ็ญ อามพัฒน์ สมาชิกกลุ่ม
3. นางอารีรัตน์ วิเชียรประภา สมาชิกกลุ่ม
4. นางธนพร ศนีบุตร สมาชิกกลุ่ม
5. นางทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์ สมาชิกกลุ่ม
6. นางจันทรมาศ เสาวรส สมาชิกกลุ่ม
7. นางสาวเพ็ญนภา พิสัยพันธุ์ สมาชิกกลุ่ม
8.นางสาวชญาดา เนตน์กระจ่าง สมาชิกกลุ่ม
9.นางสาวจรัญญา ดีจะโปะ สมาชิกกลุ่ม
10.นางสาววรัญญา ชลธารกัมปนาท สมาชิกกลุ่ม
11.นางสาวกรรณิการ์ แซ่ตั๊ง สมาชิกกลุ่ม
12. นางสาวกฤษณี สุวรรณรัตน์ สมาชิกกลุ่ม
13.นางสาวจารุวรรณ์ ท่าม่วง เลขานุการกลุ่ม
รายละเอียดการประชุม
ผลการจัดโครงการบูรณาการรายวิชา พย.1322 B “นมแม่ : เรื่องน่ารู้สู่การปฎิบัติ “ ด้านนักศึกษา
ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 201 คน เท่ากับ ร้อยละ 97.39
คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.41 ซึ่งอยู่ในระดับดี และมีสิ่งที่ได้เรียนรู้เพิ่มเติม สรุปประเด็นดังต่อไปนี้
1. สิ่งที่นักศึกษาได้รับจากโครงการบูรณาการรายวิชา พย.1322 B “นมแม่ : เรื่องน่ารู้สู่การปฎิบัติ”
- นักศึกษามีโอกาสทบทวนและนำความรู้ ทักษะต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ไปประยุกต์ใช้กับกรณีศึกษาจริง
- นักศึกษาได้มีการฝึกนำกระบวนการทางการพยาบาลไปใช้ในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อีกทั้งยังฝึกการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อีกด้วย
- นักศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
2. การเตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนการออกฝึกปฎิบัติจริงกับมารดาหลังคลอด ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฎิบัติจริงให้ประสบผลสำเร็จได้มากยิ่งขึ้น เช่น
- การทบทวนองค์ความรู้ คำแนะนำ และการสาธิตทักษะที่เกี่ยวข้อง จากอาจารย์ผู้สอน
- การเข้ากลุ่มเปิดโอกาสให้นักศึกษาฝึกปฎิบัติ พร้อมทั้งการได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ผู้สอน
- ในการให้คำแนะนำ ควรจะมีแผนการสอน สื่อประกอบ รวมถึงสื่อภาษาอื่นๆเช่น กัมพูชา พม่า ลาว เป็นต้น ที่จะใช้ในการสอนเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
- ในระหว่างที่ให้คำแนะนำมารดาหลังคลอด นักศึกษาต้องการให้มีอาจารย์นิเทศเข้าร่วมด้วย เพื่อจะให้คำแนะนำได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน อีกทั้งยังทำให้เกิดความมั่นใจมากยิ่งขึ้น
-รูปแบบในการจัดกิจกรรมการแนะนำ อาจจะมีหลากหลายเพื่อส่งเสริมบรรยากาศในการเรียนรู้ เช่น การแนะนำโดยมารดาที่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน หรืออาจจะจัดสอนสุขศึกษาโดยการเข้ากลุ่ม เป็นต้น
ผลการจัดโครงการบูรณาการรายวิชา พย.1322 B “นมแม่ : เรื่องน่ารู้สู่การปฎิบัติ”
ด้านมารดาหลังคลอดและครอบครัว
จากโครงการบูรณาการรายวิชา พย.1322 B/ปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 1B กับการบริการวิชาการ “นมแม่ : เรื่องน่ารู้สู่การปฏิบัติ”ผลการประเมินความพึงพอใจของมารดาหลังคลอดและครอบครัว จำนวน 548 คน เท่ากับ ร้อยละ 95.96 คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.45 ซึ่งอยู่ในระดับ ดี
และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สรุปดังประเด็นต่อไปนี้
1. สิ่งที่มารดาหลังคลอดและครอบครัวได้รับจากโครงการนี้
- ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความเชื่อและประสบการณ์การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในประเด็นต่างๆ เช่น ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิธีการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างน้อย 6 เดือนให้ประสบความสำเร็จ โดยมีสมาชิกในครอบครัวมามีส่วนร่วมหลายครอบครัวมีความเข้าใจ เห็นปัญหาอุปสรรคและแนวทางการป้องกัน แนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆที่อาจส่งผลให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ประสบความสำเร็จ เช่น ปัญหาน้ำนมไหลน้อย เต้านมคัดตึง หัวนมแตกก็จะมองปัญหานี้เป็นเรื่องที่สามารถป้องกันและแก้ไขได้
บางครอบครัวเกิดความตระหนัก เห็นความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เปลี่ยนทัศนคติ ความเชื่อ และความคิด ตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาเพิ่มมากขึ้น
2. ระยะเวลาการวางแผนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอดและครอบครัว
- ระยะเวลาตั้งแต่ 6 เดือน , 1 ปี , 2 ปี ,จนกว่าลูกจะไม่กิน และ จนกว่าน้ำนมจะไม่ไหล
3.ความรู้/คำแนะนำเรื่องที่มารดาหลังคลอดและครอบครัวต้องการได้รับเพิ่มเติม
- การบีบเก็บน้ำนม- ท่าในการให้นมบุตร
- การวางแผนคุมกำเนิด- ยาสมุนไพรบำรุงน้ำนม
- การเลี้ยงบุตรหลังคลอด- การป้อนนมบุตรด้วยถ้วยแก้ว
- ยาที่มีผลต่อการสร้างน้ำนมลดลง- ความแตกต่างของนมแม่กับนมผสม
- การกระตุ้นทารกขณะดูดนมแล้วหลับไป- ประโยชน์และการเก็บรักษาน้ำนมในตู้เย็น
- การถอนหัวนมออกจากปากทารกอย่างถูกวิธี- การบำรุงน้ำนม ให้มีน้ำนมมาก ,อาหารบำรุงน้ำนม
- การแก้ไขปัญหาเต้านมคัดตึง หัวนมแตก หรือเป็นแผล
- เหตุผลที่ควรเลี้ยงบุตรด้วยน้ำนมมารดาอย่างน้อย 6 เดือน
- วิธีการประคบและนวดเต้านม เพื่อบรรเทาอาการเต้านมคัดตึง
- สิ่งที่บ่งบอกว่าทารกได้รับน้ำนมอย่างเพียงพอ ไม่ต้องการอาหารเสริม
- บทบาทของบิดา-มารดา เพื่อให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประสบความสำเร็จ
สิ่งที่ได้จากการจัดโครงการบูรณาการรายวิชา พย. B 1322 “นมแม่: เรื่องน่ารู้สู่การปฏิบัติ” ด้านอาจารย์
๑. อาจารย์ได้ทบทวน พัฒนาความรู้ และค้นคว้าวิจัยที่ทันสมัย เพื่อมานำถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษาสำหรับนำไปสอน/ให้คำแนะนำแก่มารดาหลังคลอดและครอบครัวเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วย
นมมารดา
๒. อาจารย์และนักศึกษามีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการให้คำแนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาเป็นกลุ่มย่อย ทำให้อาจารย์ได้ทราบถึงปัญหา อุปสรรค ความต้องการเพิ่มเติมของนักศึกษาในการสอน/ให้คำแนะนำ ให้แก่มารดาหลังคลอดและครอบครัวเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา อาจารย์จึงแนะนำนักศึกษาได้ตรงประเด็นตามความต้องการของนักศึกษา เช่น นักศึกษาต้องการให้อาจารย์แนะนำสถานที่/แหล่ง ในการจำหน่ายอุปกรณ์เก็บน้ำนม และอุปกรณ์การแก้ไขหัวนม เป็นต้น
๓. อาจารย์ได้มีการสังเกตการจัดกิจกรรม/การให้คำแนะนำของนักศึกษา พบว่า
- นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการให้ความรู้หรือสอน
สุขศึกษาให้แก่มารดาหลังคลอดและครอบครัวเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาได้อย่างมั่นใจมากขึ้น
- การสอนสุขศึกษารายบุคคลทำให้นักศึกษามีความมั่นใจในการแก้ปัญหามากกว่าการสอน
สุขศึกษารายกลุ่ม และมารดาหลังคลอดมีความกล้าในการซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหาจากการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดามากขึ้น
๔. ทำให้อาจารย์ได้ทราบถึงทักษะปฏิบัติของนักศึกษาต้องฝึกฝนเพิ่มเติม คือ
- ทักษะการให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาที่ซับซ้อน เช่น มารดาปฏิเสธการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาโดยอ้างอิงจากประสบการณ์เดิมที่ไม่ประสบความสำเร็จ และการสื่อสารเพื่อให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา
- ทักษะในการสาธิตท่าอุ้มบุตรดูดนมมารดาให้เหมาะสมกับมารดาแต่ละราย
ข้อเสนอแนะจากอาจารย์
๑. ควรเพิ่มความหลากหลายในการจัดกิจกรรม เช่น จัดในรูปแบบของนิทรรศการ หรือจัดสอนเป็นรายกลุ่ม ซึ่งจะทำให้สามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาหลากหลายมากยิ่งขึ้น
๒. อาจนำโครงการไปบูรณาการในรายวิชาพย.1321 ในบทที่มีการสอนเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วย
นมมารดา และประเมินผลโครงการโดยจัดเป็นนิทรรศการ 1 วัน
๓. ควรนำความรู้ที่ได้จากการจัดโครงการไปทำเป็นความวิชาการ และเผยแพร่ทางวิทยุชุมชน
ผู้บันทึก จารุวรรณ์ ท่าม่วง
10.30 น.