การแก้ไขปัญหานักศึกษาที่ตรวจสอบชีพจรได้ค่าต่ำกว่าปกติ

วิจัยในชั้นเรียน ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล วิชา  พย.1203 หลักการและเทคนิคการพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต  ชั้นปีที่ 2 ชื่อเรื่อง   การแก้ไขปัญหานักศึกษาที่ตรวจสอบชีพจรได้ค่าต่ำกว่าปกติ ผู้วิจัย   รัชชนก  สิทธิเวช สภาพปัญหา การตรวจสอบชีพจร  เป็นสัญญาณชีพตัวหนึ่ง  ที่นักศึกษาต้องฝึกปฏิบัติในวิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาล  ซึ่งเป็นการเรียนในภาคทดลอง  และเป็นทักษะการพยาบาลขั้นพื้นฐาน ทักษะหนึ่งที่สำคัญซึ่งต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง   โดยจะมีเวลาในภาคทดลองเพียง 2 ช.ม. และจะสอบในสัปดาห์ถัดไป   ดังนั้นหากนักศึกษาไม่สามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง  จะเป็นผลเสียสืบเนื่องเมื่อฝึกปฏิบัติในวิชา พย.1204 ปฏิบัติหลักการและเทคนิคการพยาบาลได้ วัตถุประสงค์    เพื่อให้นักศึกษาตรวจสอบชีพจรได้ถูกต้อง วิธีดำเนินการ 1.  พูดคุยและค้นหาสาเหตุของปัญหาที่ทำให้นักศึกษาตรวจสอบชีพจรได้ค่าต่ำกว่าปกติ 2.  แนะนำหลักการและเทคนิคเพิ่มเติมในการตรวจสอบชีพจร 2.1  ให้เวลาพูดคุยกับนักศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้สึกเป็นกันเองมากขึ้น  ให้นักศึกษา                ผ่อนคลายด้วยการให้ใจเข้า- ออกยาวๆ ลึก ๆ ก่อนการปฏิบัติ 2.2  จับเวลาโดยตั้งสติดูเวลาเริ่มต้นนับให้เข็มวินาทีอยู่ที่เลข 6 หรือ 12 และใช้การพยักหน้าแทนการพูดว่าเริ่มในการสอบ  เพราะเมื่อฝึกปฏิบัติจริงจะไม่มีการพูดว่าเริ่ม                  หรือพยักหน้าใด ๆ 2.3  หยุดมองนาฬิกาและตั้งสตินับชีพจรตามจังหวะชีพจรที่สัมผัสกับปลายนิ้วต่อไปเรื่อย ๆ [...]

Tags: , , ,

การแก้ไขปัญหานักศึกษาที่ไม่เข้าใจวิธีการคำนวณยาชา

วิจัยในชั้นเรียน ภาควิชาบริหารและพื้นฐานการพยาบาล วิชา  พย. 1425  การรักษาพยาบาลเบื้องต้น หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต  ชั้นปีที่ 4 ชื่อเรื่อง   การแก้ไขปัญหานักศึกษาที่ไม่เข้าใจวิธีการคำนวณยาชา ผู้วิจัย   รัชชนก  สิทธิเวช สภาพปัญหา ในวิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น เรื่อง การบำบัดทางด้านหัตถการ  นักศึกษาต้องสามารถคำนวณยาชาที่ใช้ในการทำหัตถการต่าง ๆ เช่น เย็บแผล  เลาะซีสต์  ถอดเล็บ  ซึ่งเป็นความรู้ที่ต้องนำไปใช้ในการฝึกปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น  ในภาคการศึกษาที่ 2 ต่อไป  แต่พบว่ามีนักศึกษา 1 คน ไม่เข้าใจวิธีการคำนวณยาชา  ไม่สามารถทำแบบฝึกหัดที่ให้ทำในชั้นเรียนได้  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหานี้  ก่อนที่จะมีการประเมินผลรายวิชา วัตถุประสงค์    เพื่อแก้ไขปัญหานักศึกษาที่ไม่เข้าใจวิธีการคำนวณยาชา วิธีดำเนินการ 1.  นัดหมายกับนักศึกษาเพื่อพูดคุยและค้นหาสาเหตุของปัญหาที่ทำให้นักศึกษาไม่เข้าใจวิธีการคำนวณยาชา 2.  พูดคุยกับนักศึกษาเพื่อหาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหาการไม่เข้าใจวิธีการคำนวณยาชา   โดยให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดการคำนวณยาชาให้ครูดูทีละขั้นตอนประกอบกับให้นักศึกษาพูดขั้นตอนการคิดให้ครูฟังในขณะทำแบบฝึกหัดด้วย  เพื่อตรวจสอบว่านักศึกษาไม่เข้าใจในขั้นตอนใด 3.  ครูอธิบายเพิ่มเติมในส่วนที่นักศึกษาไม่เข้าใจและไม่สามารถคิดต่อได้  ทีละขั้นตอน 4.  ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดการคำนวณยาชาข้อใหม่เพื่อทบทวนขั้นตอนการคิดในการคำนวณยาชาโดยขณะทำให้ครูดูนักศึกษาพูดขั้นตอนการคิดให้ครูฟังด้วย  เมื่อมีข้อผิดพลาดครูสอนเพิ่มเติมอีกครั้ง 5.  ครูสรุปขั้นตอนวิธีการคำนวณยาชา และให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดการคำนวณยาชาซ้ำ ข้อเดิมอีกครั้ง  จนสามารถทำและพูดอธิบายได้อย่างถูกต้อง [...]

Tags: , , , ,