การพัฒนาทักษะการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลในรายวิชา พย. 1205 การสอนและการให้คำปรึกษา
ผู้เขียน อาจารย์เชษฐา แก้วพรม การพัฒนานักศึกษาพยาบาลให้มีทักษะสะท้อนคิดควบคู่ไปกับการเรียนการสอนในวิชาการสอนและการให้คำปรึกษาทางสุขภาพเป็นสิ่งที่ควรส่งเสริม เพราะนอกจากจะช่วยพัฒนานักศึกษาพยาบาลให้มีคุณลักษณะของผู้ให้คำปรึกษาที่ดีแล้วยังช่วยให้เกิดการพัฒนาทักษะทางปัญญาด้วย ทีมวิจัยได้ทดลองแนวคิด “การเขียนบันทึกการเรียนรู้ (Reflective Journal)” มาประยุกต์ใช้ในรายวิชาการสอนและการให้คำปรึกษาทางสุขภาพโดยหวังว่าการเขียนบันทึกการเรียนรู้จะช่วยพัฒนานักศึกษารู้จักคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและเป็นนักสะท้อนคิด (Reflective Practitioner) ในอนาคต การวิจัยในชั้นเรียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังได้รับมอบหมายให้เขียนบันทึกการเรียนรู้ในวิชาการสอนและการให้คำปรึกษา โดยใช้กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ข จำนวน 102 คน ทีมผู้สอนกำหนดให้นักศึกษาเขียนบันทึกการเรียนรู้หลังสิ้นสุดการเรียนภาคทดลองแต่ละสาระการเรียนรู้จำนวน 5 ครั้ง ผู้วิจัยใช้แนวคิด Reflective Cycle ของกิบบ์ ในการกำหนดหัวข้อในการเขียนบันทึกการเรียนรู้ของนักศึกษาประกอบด้วย (1) การอธิบายประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนภาคทดลอง (2) การบรรยายความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะเรียน (3) การวิเคราะห์เชื่อมโยงประสบการณ์กับองค์ความรู้ที่เรียนในภาคทฤษฎี และ (4) การสรุปการเรียนรู้และวางแผนนำความรู้ไปใช้อนาคต จากนั้นทีมผู้สอนได้ทำการตรวจบันทึกการเรียนรู้โดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนของ Williams และคณะ (2000) เพื่อดูระดับการสะท้อนคิดของนักศึกษา Related Posts by Tagsปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างเพื่อการพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล:ประสบการณ์จากการนำไปใช้ เทคนิคการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้างเพื่อการพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล การพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลด้วยการสนทนากลุ่มอย่างมีโครงสร้าง การเตรียมนักศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้เรื่องการสะท้อนคิด แนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง การพัฒนาทักษะการ [...]