ผู้เขียน : ดร.ศรีสกุล เฉียบแหลม
04/30/13
“ พยาบาลกับการเตรียมความพร้อมรับวัฒนธรรมที่แตกต่างของอาเซียนบวก ” จัดการความรู้จากการประชุม ณ โรงแรมมารวยการ์เด้น กรุงเทพฯ โดยสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ผู้ร่วมจัดการความรู้ 1. นางสาวศรีสกุล เฉียบแหลม ประธานและผู้เขียน 2. นางสาวจิตติยา สมบัติบูรณ์ กรรมการ 3. นางสาวพุฒตาล มีสรรพวงษ์ กรรมการ 4. นายภโวทัย พาสนาโสภณ กรรมการ 5. นางรัชชนก สิทธิเวช กรรมการ 6. นางสุมาลี ราชนิยม กรรมการ 7. นางสาวคณิสร แก้วแดง กรรมการ 8. นางสาวนิศารัตน์ รวมวงษ์ กรรมการ 9. นางสาวบุษยารัตน์ ลอยศักดิ์ กรรมการ 10.นางสาวจันจิรา หินขาว กรรมการ การก้าวสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) กลุ่มประชาคมอาเซียนประกอบด้วย ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ [...]
Tags: AEC, พยาบาล, ภาวะสุขภาพ, อาเซียน, เตรียมความพรัอมรับวัฒนธรรม
ผู้เขียน : ดร.ศรีสกุล เฉียบแหลม
12/28/12
“ พยาบาลกับการเตรียมความพร้อมรับวัฒนธรรมที่แตกต่างของอาเซียนบวก ” การก้าวสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) กลุ่มประชาคมอาเซียนประกอบด้วย ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงค์โปร์ อินโดนีเซีย บรูไน เวียดนาม กัมพูชา และพม่า รวม 10 ประเทศ อาเซียนบวก (ASEAN Plus) หมายถึงอะไร ASEAN + 6 คือ กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ บวกกับ ประเทศจีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย และนิวซิแลนด์ ASEAN + 8 เพิ่มประเทศรัสเซีย และอเมริกา วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งประชาคมอาเซียน มีดังนี้ 1. เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคง การส่งเสริมประชาธิปไตย หลักนิติรัฐและการเคราพสิทธิมนุษยชน และสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน การระงับข้อพิพาทในภูมิภาคด้วยสันติวิธี 2. สนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางการเงิน [...]
Tags: asean plus, การปรับตัวสู่อาเซียน, พยาบาล, อาเซียนบวก, เตรียมความพร้อมสู่อาเซียน
ผู้เขียน : อ.ปาลีรัญญ์ ฐาสิรสวัสดิ์
09/13/12
ความสำคัญของการสะท้อนคิด การใช้การสะท้อนคิดในการศึกษาพยาบาล และการปฏิบัติการพยาบาล มีบทบาทสำคัญในการทำให้นักศึกษาพยาบาลเรียนรู้และถูกกระตุ้นท้าทายให้ “คิดแบบพยาบาล” (think like a nurse) ไม่ใช่แต่เพียงการท่องจำความรู้ที่ถ่ายทอดจากความจำและริมปากของครูผู้สอน เพื่อนำเอาไปสอบเท่านั้น ช่วยให้การเรียนพยาบาล และการปฏิบัติเกิดความหมาย (meaningful) และเมื่อการกระทำต่างๆ การเรียนรู้มีความหมายขึ้นในจิตใจแล้ว การเรียนรู้และการคงอยู่ในวิชาชีพก็สูงขึ้นด้วย การสะท้อนคิดเป็นตัวกลางสำคัญในการเชื่อมความรู้เข้ากับการปฏิบัติอย่างมีความหมายที่แท้จริง ช่วยให้เกิดการทบทวนความรู้จากประสบการณ์ (experiential knowledge) และช่วยให้เกิดการสั่งสมความรู้ในตัวบุคคล (tacit knowledge) การใช้การสะท้อนคิดมาบูรณาการในการออกแบบการจัดการเรียนการสอนพยาบาล และพัฒนาการปฏิบัติการพยาบาล จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและไม่ควรมองข้าม การสะท้อนคิดได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวาง และได้รับการยอมรับว่าทำให้การเรียนการสอน และการปฏิบัติการพยาบาลเกิดความหมายขึ้นในจิตใจของผู้เรียนและของพยาบาล (make sense of the experience) ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัว พัฒนาตัวเองเป็นพยาบาลที่ดีได้อย่างชัดเจน และทำให้พยาบาลลาออกหรือทิ้งงานการพยาบาลน้อยลง มีการให้พยาบาลด้วยหัวใจมากขึ้น เป้าหมายของการศึกษาคือ ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง (transformative education) Related Posts by Tagsรายงานการประชุมของ CoP การดูแลผู้ป่วยวิกฤติและเรื้อรังภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ กลยุทธ์การสร้างทักษะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สู่การเรียนการสอน ครั้งที่ 4 กลยุทธ์การสร้างทักษะในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สู่การเรียนการสอน [...]
Tags: การเรียนการสอน, พยาบาล, ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ, วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า, สะท้อนความคิด