แนวคิดจากประสบการณ์ส่วนตัวในการตรวจNCP ของนศ.ว่าครอบคลุมหรือไม่ คิดว่าน่าจะครอบคลุมและใช้ได้กับทุกๆปัญหา 1.เริ่มต้นคุณต้องรู้ข้อมูลทุกอย่าง(ขอย้ำว่าทุกอย่าง)ของผู้ป่วย จากนั้นต้องอ่านเรื่องโรคและยา labรวมทั้งพยาธิสภาพ 2.คิดข้อวินิจฉัย ถ้าคิดไม่ออก ก็อ่านโรคจะเข้าใจอาการ หรืออ่านหนังสือบางเล่มมีข้อวินิจฉัยแบบย่อๆจากนั้นให้แบ่งปัญหาเป็นสองส่วน คือ เหตุที่เกิดกับผลที่เกิด 3.ข้อมูลสนับสนุน จริงๆแล้วน่าจะต้องมีข้อมูลก่อน แต่สำหรับมือใหม่หัดเขียนอนุโลมให้หาข้อมูลมาใส่ทีหลัง ฝึกบ่อยๆจะได้ข้อมูลแล้วคิดปัญหาได้ จากนั้นดูปัญหาทีละส่วนโดยใช้หลักการดูดังนี้ 3.1 ข้อมูลคำบอกเล่าจากผู้ป่วย ญาติ 3.2อาการ อาการแสดงจากผู้ป่วยที่พบหรือจากการบันทึกที่มี รวมตรวจร่างกาย และv/s และ monitorต่างๆ 3.3ผลLabต่างๆ ตรวจฉี่ ตรวจเลือดและอื่นๆ) 3.4ผลตรวจพิเศษ(x-ray ,CT ,ECG,echoเป็นต้น)ถ้าข้อมูลใดซ้ำกันก็เขียนครั้งเดียว 4. การเขียนanalysis ก็ให้อ่านทฤษฎีและอธิบายเชื่อมโยงอาการ โรค lab กับปัญหาที่เกิดขึ้น 5.วัตถุประสงค์เป็นเป้าหมาย ที่มีทั้งการป้องกันและแก้ไขทั้งระยะสั้นและระยะยาว บางครั้งจะแก้ได้ทั้งปัญหาและสาเหตุ บางครั้งแก้ปัญหาได้เช่นวิตกกังวลจากการตัดขาเพื่อการรักษา นศ.แก้ไขขาที่ตัดไม่ได้แต่ช่วยเรื่องวิตกกังวลได้ 6.เกณฑ์การประเมินผล ตัววัดว่าผ่านวัตถุประสงค์หรือไม่ ใช้แนวคิดเดียวกับ 3.1-3.4แต่ให้เขียนสิ่งที่จะต้องไม่เกิดหรือเกิดลดลง(แล้วแต่ว่าเป็นการดูแลระยะสั้น ระยะยาว)จากข้อมูลเดิม เพราะถ้าเขียนกว้างๆ แสดงว่าคุณไม่สามารถประเมินได้จริง 7.กิจกรรมการพยาบาลจะสอดคล้องกับเกณฑืที่คุณตั้งไว้ โดยจัดลำดับว่า ประเมิน ดูแล ประเมิน และคิดเสมอว่า ทำกิจกรรมที่พยาบาลทำได้ก่อน [...]