การเตรียมนักศึกษาชั้นปี 4 สอบสภาฯ ปีการศึกษา 2553 [ประชุมครั้งที่ 1]

การเตรียมนักศึกษาชั้นปี 4 สอบสภาฯ ปีการศึกษา 2553 นักศึกษารุ่นที่ 43  จำนวนทั้งหมด 279 คน สรุปประเด็นสำคัญจากการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของฝ่ายวิชาการ ฝ่ายวิจัยและจัดการความรู้            และอาจารย์ผู้สอนทั้ง 9 รายวิชา (แยกวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน กับวิชารักษาพยาบาลเบื้องต้น) การประชุม ครั้งที่ 1 วันที่ 29 ธันวาคม 2553 ประธานการประชุม: อ.มัณฑนา  เหมชะญาติ  ประธานการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุม 1.             อ.คนึงนิตย์  พงษ์สิทธิถาวร                      9.   อ.จิตติยา   สมบัติบูรณ์ 2.             อ.รัชสุรีย์ จันทเพชร                                10.   อ.นุชนาถ  ประกาศ 3.             อ.สุชาดา นิ้มวัฒนากุล                             11.  อ.ขนิษฐา  เมฆกมล 4.             อ.ทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์                     12.  อ.จริยาพร วรรณโชติ 5.             อ.นันทวัน  [...]

Tags: , , , , , ,

หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและวิชาการร่วมกับแหล่งฝึก
ระหว่างวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรีและกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระปกเกล้า
ครั้งที่ 1 วันที่ 24 มกราคม 2554 เวลา 13.30-16.00 น.
ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

เรื่อง หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
วิทยากร ดร. มัณฑนา เหมชะญาติ
            คุณกนกพร สิงขร
            คุณพรหมมาตร์ ปฏิสังข์
ผู้เข้าร่วมประชุม
            จากวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี และวิทยากร 30 คน
            จากโรงพยาบาลพระปกเกล้า 16 คน
            รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 46 คน

สรุปรายงานการประชุม
      ปัจจุบัน พบว่าโรคเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นและส่งผลกระทบต่อส่วนรวม ดังนั้น บุคลากรทางด้านสาธารณสุขจึงควรให้ความสำคัญในการช่วยกันป้องกันและดูแลผู้ที่เจ็บป่วยเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย ในปัจจุบันการรับประทานอาหาร Fast foods นับว่าเป็นปัจจัยส่งเสริมที่สำคัญปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรคเรื้อรัง เพราะมีการพัฒนาเทคนิคการขายและการโฆษณา ให้เป็นที่สนใจแก่ผู้บริโภค ประกอบกับการผลิต package ของอาหารที่ใหญ่ขึ้น ทำให้มีการรับประทานในปริมาณที่มากขึ้น ส่งผลต่อการเกิดโรคเรื้อรังมากขึ้น
      ความหมายของโรคเรื้อรัง ขององค์การอนามัยโลก หมายถึง โรคที่รักษาไม่หาย การรักษาเป็นเพียงการพยุงไม่ให้มีการสูญเสียการทำงานของร่างกายมากขึ้น มักรักษาเกิน 6 เดือน โดยให้ความสำคัญกับโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ 4 โรค ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคเบาหวาน ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแนวโน้มของการเกิดโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการปรุงอาหารเองลดลง มักซื้ออาหารรับประทานมากขึ้น ทั้งที่ปัจจุบันการนำเทคโนโลยีมาอำนวยความสะดวกทำให้เวลาในการหุงข้าวลดลง ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อที่องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญได้แก่ การรับประทานอาหารไม่เหมาะสม การไม่ออกกำลังกายหรือออกกำลังกายไม่เพียงพอ การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ โดยแนะนำหลักการป้องกันและควบคุมโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ (NCDs) ดังนี้
      1. Promote ส่งเสริมการมีชีวิตที่มีสุขภาพที่ดี เช่น การรับประทานอาหารที่คุณภาพมากขึ้น ออกกำลังกายมากขึ้น ลดการดื่มสุราและสูบบุหรี่ ทำให้เกิดสังคมสุขภาพที่ดี ให้ความสำคัญกับกลุ่มคนที่ยากจนหรือด้อยโอกาส
      2. Prevent ป้องกันการตายก่อนวัยอันควรและหลีกเลี่ยงความเสื่อมหรือความพิการจากโรคเรื้อรัง ซึ่งบางครั้งเกิดจากสาเหตุธรรมดาที่น่าป้องกันได้
      3. Treat ควรพัฒนาการรักษาโรคเรื้อรังให้มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมประชาชนทุกระดับ โดยเฉพาะกลุ่มที่ยากจนมากที่สุด
      4. Care ควรจัดหาหรือช่วยเหลือผู้ป่วยเรื้อรัง ได้รับการดูแลที่เหมาะสมและมีคุณภาพ ในประเทศสหรัฐอเมริกา อาจกล่าวได้ว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีค่าใช้จ่ายในการซ่อมสุขภาพที่แพงที่สุดในโลก

Tags: , , ,

[ rate 18+ ] สำหรับผู้ใช้ computer ทุกคน..ที่ไม่อยากผ่าตัด

การวางมือ และการนั่งใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง

Tags: , , , , , , ,

ข้อเสนอแนะในการใช้งานระบบจัดการแผนฯ

ข้อเสนอแนะในการใช้งานระบบจัดการแผนฯ 1. เมื่อโครงการของท่านมีข้อมูลที่จะต้องใส่เข้าไปในระบบมากๆ ให้ทำการพิมพ์ข้อมูลของท่านไว้ใน Microsoft Word ก่อนแล้วบันทึกข้อมูลเก็บไว้ในเครื่องของท่าน จากนั้นให้ทำการคัดลอกข้อมูลที่ท่านได้พิมพ์เก็บไว้มาวางตอนที่ท่านจะเพิ่มโครงการเพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล เนื่องจากอาจเกิดเหตุสุดวิสัย เช่น ระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ตขาดหาย ไฟดับ ระบบจัดการแผนเกิดผิดพลาด ฯ เป็นต้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้ในขณะที่ท่านได้ทำการบันทึกการเพิ่มโครงการอยู่พอดี มีผลทำให้ข้อมูลที่ท่านได้พิมพ์ใส่เข้าไปในระบบหายไป ถ้าเราไม่ได้พิมพ์เก็บเอาไว้เราก็จะต้องทำการพิมพ์ข้อมูลใหม่ทั้งหมด 2. การเพิ่ม/ปรับ/ยกเลิกโครงการผ่านระบบจัดการแผนฯนั้น ควรทำตามลำดับขั้นตอนของระบบฯ ในขณะใช้งานระบบฯอยู่ห้ามใช้ปุ่ม Back/Next/Refresh ของ Explorer มิฉะนั้นอาจเกิดการผิดพลาดของข้อมูลโครงการของท่านได้

Tags:

การจัดการความรู้ เรื่อง แนวทางการติวสอบสภาฯ วิชาการพยาบาลผู้ใหญ่

แลกเปลี่ยนเรียนรู้การติวสอบสภา ของ ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ในรายวิชา การพยาบาลผู้ใหญ่ ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประกอบด้วย  1 . อาจารย์  สุชาดา   นิ้มวัฒนากุล   2.  อาจารย์รัชสุรีย์  จันทเพชร  3. อาจารย์ ดร.ศรีสุดา  งามขำ            4. อาจารย์ สุปราณี  ฉายวิจิตร  5.  อาจารย์ ยศพล  เหลืองโสมนภา  6. อาจารย์รุ่งนภา  เขียวชะอ่ำ และ 7. อาจารย์ นุชนาถ  ประกาศ ภายหลังจากทางภาควิชาได้รับนโยบายในการติวมาจากฝ่ายวิชาการ  โดยแบ่ง นักศึกษาเป็น 3 ห้องนั้น อาจารย์มีความเห็นว่า การแบ่งนักศึกษาให้เหลือจำนวนน้อยลง ดีกว่าการติวเป็นห้องใหญ่เนื่องจากจะได้ติวได้ทั่วถึงและนักศึกษาจะได้สอบถามข้อสงสัยได้สะดวกขึ้น และแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับวิธีการติวในประเด็นหลัก คือ 1. จะติวอย่างไรในเวลาที่ได้มา ให้ได้ประโยขน์แก่นักศึกษามากที่สุด   2.  การติวจะต้องคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ของนักศึกษา  3. ติวโดยดูจากหัวข้อหลักที่จะทำการออกข้อสอบของสภา  4.  หาอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญและรับผิดชอบการติวในแต่ละหัวข้อ เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจประเด็นหลัก  [...]