การพัฒนากระบวนการสอนรายวิชา ปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1 (พย.1310)
โดยผลการประชุม….อาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน 1. การเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษา -ทบทวนความรู้ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ก่อนการฝึกปฏิบัติงานจริงให้กับนักศึกษาเป็นเวลา 4 ชั่วโมง -ควรจัดทำ pre-test เนื้อหาสาระหลักของรายวิชา 2. การเตรียมอาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติ / อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา -จัดสัมมนาเพื่อการพัฒนาเครื่องมือในการประเมินผลนักศึกษาก่อนการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา -ประชุมระดมความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติก่อนการจัดทำแผนการสอนรายวิชาเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ภาคสนามที่จัดให้นักศึกษาตามวัตถุประสงค์รายวิชา รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคต่อการสอนภาคปฏิบัติของปีที่ผ่านมา -จัดทำแผนการสอนรายวิชาอย่างรอบคอบร่วมกับอาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติ อาจารย์พี่เลี้ยงในแหล่งฝึก และพัฒนาจากการประเมินของนักศึกษา 3.การเตรียมพยาบาลพี่เลี้ยง/อาจารย์พิเศษภาคปฏิบัติ -พิจารณาร่วมกับพยาบาลพี่เลี้ยงในเรื่อง แหล่งฝึก และการหาแหล่งสนับสนุนยานพาหนะในการเดินทางเข้าชุมชนของนักศึกษา 4. การเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาและอุปสรรคในอนาคต -วิทยาลัยควรจัดหายานพาหนะที่เหมาะสมสำหรับลงพื้นที่ชุมชนเพื่อการสนับสนุนอาจารย์และนักศึกษาอย่างเพียงพอ 5. การประเมินการฝึกประสบการณ์ภาคสนามโดยนักศึกษา -นักศึกษาได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ – มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานชุมชน 6. ความเห็นของอาจารย์ผู้รับผิดชอบ/อาจารย์ที่ปรึกษาการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม -เพิ่มการสอนในคลินิกเรื่องบทบาท รพ.สต.ในการให้บริการเชิงรุก -เพิ่มกิจกรรมการตรวจสุขภาพเด็กดี 7. การประเมินการฝึกประสบการณ์ภาคสนามโดยสถานที่ฝึกหรือพยาบาลในแหล่งฝึก -นักศึกษายังขาดความกระตือรือร้นในการฝึกปฏิบัติงาน โดยเฉพาะการปฏิบัติงานด้านการให้บริการ ที่ รพ.สต. 8. ความเห็นของอาจารย์ผู้รับผิดชอบ/อาจารย์ที่ปรึกษาการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม -วิทยาลัยควรมียานพาหนะสนับสนุนการเดินทางของนักศึกษาในการเข้าชุมชนที่อยู่ไกลจาก รพ.สต. เนื่องจากทรัพยากรของ รพ.สต. มีไม่เพียงพอ 9.การทวนสอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา -มีการประชุมร่วมกันระหว่างอาจารย์ผู้รับผิดชอบและอาจารย์ผู้สอนภาคปฏิบัติทุกคนเพื่อพิจารณาคะแนนและเกรดของนักศึกษา -มีคณะกรรมการจากภาควิชาฯ 3 คน [...]