นโยบายและทิศทางการพัฒนาการผดุงครรภ์ 360 องศา

สรุปการประชุมวิชาการ

เรื่อง  การจัดการความเสี่ยงทางการผดุงครรภ์

หัวข้อ นโยบายและทิศทางการพัฒนาการผดุงครรภ์ 360 องศา

ผู้เขียน  อ. เพ็ญนภา  พิสัยพันธุ์

ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. อ. ธนพร  ศนีบุตร

2. อ. ทิพวรรณ  ลิ้มประไพพงษ์

3. อ. จันทรมาศ  เสาวรส

4. อ. ขนิษฐา  เมฆกมล

5. อ. จันทร์เพ็ญ   อามพัฒน์

6. อ. อารีรัตน์   วิเชียรประภา

7. อ. จรัญญา   ดีจะโปะ

8. อ. วรัญญา  ชลธารกัมปนาท

9. อ. จารุวรรณ์   ท่าม่วง

10. อ. กรรณิการ์   แซ่ตั๊ง

11. อ. กฤษณี  สุวรรณรัตน์

สถานการณ์วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์

       1. กำลังคนทางการพยาบาล

- จุดแข็ง เป็นกำลังหลักในการบริการสุขภาพ มีจำนวนบุคลากรมาก มีระบบในการพัฒนากำลังคน

- จุดอ่อน ขาดแคลนกำลังคนเนื่องจากความต้องการเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เกิดการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ด้านสูติกรรมไม่ถูกให้ความสำคัญเท่าที่ควร

2. คุณภาพการศึกษา มีการรับรองคุณภาพ การจัดการศึกษาและบริการทางการพยาบาลจากการรับรองหลักสูตรการศึกษา มีกำหนดมาตรฐานและสมรรถนะของผู้ปฏิบัติงาน มีระบบและกลไกในการควบคุมกำกับและตรวจสอบคุณภาพอย่างเป็นระบบ

3. การยอมรับทางสังคม เป็นวิชาชีพที่ได้รับการยอมรับทางสัมคม เป็นวิชาชีพที่มีคุณภาพ มีความรู้ เป็นการปฏิบัติงานที่ต้องเผชิญกับความเสี่ยง ในขณะที่ได้รับการยอมรับวิชาชีพพยาบาลยังคงเผชิญกับปัญหา ที่ส่งผลต่อการยอมรับของสังคม เช่น ภาพลักษณ์และพฤติกรรมการบริการที่ไม่เป็นไปตามความคาดหวังของสังคม

นโยบายที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์

1. นโยบายของภาครัฐ เกิดผลกระทบด้านกำลังคนทางการพยาบาล มีการปฏิรูประบบสุขภาพที่มุ่งความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพโดยที่กำลังคนมีอยู่อย่างจำกัดเกิดการเคลื่อนย้ายสู่ระบบการทำงานใหม่เกิดภาระงานที่มากเกินไปเกิดความเสี่ยงและความเรียดในการทำงาน มีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพภาคเอกชน เพื่อสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ เช่น Medical hub รวมถึงการจัดการท่องเที่ยงเชิงสุขภาพ ทำให้ชาวต่างชาติเข้ามารับบริการมากขึ้น เกิดความต้องการกำลังคนภาคเอกชนสูงขึ้น จึงเกิดการไหลของกำลังคนจากภาครัฐสู่เอกชน เนื่องจากค่าตอบแทนที่มากกว่า

2. นโยบายการเปิดเสรีตลาดสุขภาพอาเซียน มีนโยบายผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบริการสุขภาพในภูมิภาค ด้วยนโยบาย Medical hub เพื่อดึงดูดชาวต่างชาติ นโยบายเปิดเสรีนี้ประเทศที่พัฒนาแล้วมักจะได้รับผลประโยชน์ เพราะมีอำนาจในการจ่าย/ซื้อ/การจ้างงานสูง โดยกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานเลือกเฉพาะบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ทำให้ประเทศไทยขาดแคลนบุคลากรที่มีมาตรฐาน คุณสมบัติและสมรรถนะสูง

3. นโยบายขององค์กรวิชาชีพ มีการจัดทำนโยบายในการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยข้อจำกัดวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ขาดโอกาสในการทำงานในตำแหน่งระดับสูง ที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายระดับชาติ การจัดการปัญหาต่างๆ จึงล่าช้า ขาดการทำงานเชิงรุก ขาดการต่อรองที่เข้มแข็งในระดับนโยบาย

ความท้าทายในการพัฒนาวิชาชีพท่ามกลางภาวะวิกฤต

1. ความท้าทายขององค์กรวิชาชีพระดับชาติ ความท้าทายในการสร้างโอกาสเข้าร่วมกำหนดนโยบายระดับชาติ การสร้างงานวิจัย การผลักดันกำลังคนที่มีอยู่ในระบบ การบริหารด้านการศึกษาและการจัดตั้งเครือข่ายที่เข้มแข็ง

2. ความท้าทายขององค์การพยาบาลและพยาบาลผู้ปฏิบัติงานในสถานบริการ เกิดความท้าทายในการพัฒนาวิชาชีพในระดับพื้นที่ การจัดกำลังที่สอดคล้องกับงาน การปฏิบัติหน้าที่ภายใต้ขอบเขตของวิชาชีพ ความท้าทายในการพัฒนาคุณภาพบริการบนฐานความรู้ที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ การพัฒนาเครือข่ายเพื่อเรียกร้องสิทธิที่พึงได้รับให้กับพยาบาลในพื้นที่

3. ความท้าทายในสถาบันการศึกษาในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา ระบบการเรียนการสอนและการพัฒนาอาจารย์เพื่อหล่อเลี้ยงกำลังคน ให้ทำงานอย่างมีความสุข

Print Friendly
ผู้เขียน อ.เพ็ญนภา พิสัยพันธุ์ (ประวัติการเขียน 6 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสังกัด ภาควิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์


Tags: ,

Comments are closed.