ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการสอบรวบยอดเครือข่ายภาคกลางและสอบรวบยอดมหาวิทยาลัยบูรพา วิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช ปีการศึกษา 2555

ผู้บันทึกข้อมูล  อ.อรัญญา บุญธรรม

อาจารย์ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. ดร.ศรีสกุล เฉียบแหลม

2. อ.วราภรณ์ จรเจริญ

3. อ.โศภิณสิริ ยุทธวิสุทธิ

4. อ.มงคล ส่องสว่างธรรม

5. อ. ลลนา ประทุม

จากการติดตามผลการสอบรวบยอดเครือข่ายภาคกลาง (2 ครั้ง)และสอบรวบยอดมหาวิทยาลัยบูรพา วิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ปี 4 ปีการศึกษา 2555  พบว่า นักศึกษาสอบวิชา สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช ผ่าน 100 เปอร์เซ็นต์ ทั้ง 3 ครั้ง โดยมีค่าคะแนนสูงสุด 68 คะแนนจากคะแนนเต็ม 75 คิดเป็น  ร้อยละ 90.66     คะแนนเฉลี่ย 59.82 คิดเป็นร้อยละ 79.76     คะแนนต่ำสุด 50 คะแนน  คิดเป็นร้อยละ 66.67   คณาจารย์ภาควิชาจึงเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาปี 4 จำนวน 10 คน โดยใช้กระบวนการ Focus Group  นักศึกษาได้ให้ข้อมูลปัจจัยที่มีผลทำให้การสอบในวิชาดังกล่าวผ่าน 100 เปอร์เซ็นต์ มีดังต่อไปนี้

  1. การ Conference ในการฝึกภาคปฏิบัติทั้งในหอผู้ป่วยจิตเวช และในชุมชนมีประโยชน์มาก และเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้เข้าใจ เห็นภาพ และจดจำได้นาน
  2. กระบวนการติวที่จัดโดยอาจารย์ประจำชั้น
  3. เอกสารสรุปสาระสำคัญวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช ที่จัดทำโดยคณาจารย์ในภาควิชา ซึ่งสรุปแนวคิดและสาระสำคัญตาม Bleu print  ทำให้นักศึกษามีสมาธิในการฟังเพราะไม่ต้องกังวลกับการจด จึงง่ายต่อการจำสาระสำคัญซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการติว
  4. การแบ่งกลุ่มพิเศษ (22 คน) และกลุ่มปกติ (60 คน)  ทำให้นักศึกษาในกลุ่มมีพื้นฐานไม่แตกต่างกันมาก โดยเฉพาะนักศึกษากลุ่มพิเศษซึ่งทีคะแนนต่ำและมีจำนวนไม่มาก ทำให้นักศึกษากล้าซักถามในส่วนที่ยังไม่เข้าใจ เพราะหากอยู่รวมกันทั้งห้อง นักศึกษากังวลใจว่าจะเป็นเรื่องที่เพื่อนๆส่วนใหญ่เข้าใจแล้ว ทำให้เสียเวลาเพื่อนคนอื่น
  5. การบันทึกสาระสำคัญจาการอ่านชีท หรือหนังสือ และเก็บไว้อ่านทบทวนหลายๆรอบ
  6. การอ่านหนังสือกับเพื่อน แลกเปลี่ยนความรู้กัน ให้เพื่อนช่วยติว ช่วยอธิบายในส่วนที่ยังไม่เข้าใจ
  7. เทคนิคในการติวของอาจารย์

-           การเน้นแนวคิด สาระสำคัญ ไม่พูดอธิบายรายละเอียดมาก จะทำให้นักศึกษาทราบว่าส่วนไหนที่สำคัญและต้องจำ ถ้าอาจารย์อธิบายรายละเอียดมากจะทำให้จำไม่ได้เพราะเนื้อหาเยอะ

-           การจดจำด้วยภาพ เช่นการวาดภาพขณะอธิบาย  หรือการสรุปสาระสำคัญด้วยภาพ

-           การยกตัวอย่างประกอบการอธิบาย

-           การอุปมาอุปมัย

-           การสร้างคำใหม่ที่กระตุ้นการจดจำ ทำให้จำได้ง่าย

-           การแต่งสาระสำคัญเป็นกลอนหรือคำคล้องจอง

  1. การฝึกทำข้อสอบเสมือน ทำให้ทราบว่าตนเองยังขาดความเข้าใจในเรื่องใด ทำให้ศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องนั้นมากขึ้น
  2. การเฉลยข้อสอบโดยอาจารย์ ทำให้นักศึกษาทราบเทคนิคการวิเคราะห์โจทย์ การตัดตัวเลือกที่ไม่ถูกต้อง และการพิจารณาตัวเลือกที่ถูกต้อง และในขณะเดียวกันอาจารย์ก็ได้เน้นแนวคิด สาระสำคัญในเนื้อหาเรื่องนั้นๆ

การซักถามอาจารย์ในประเด็นที่ตนเองไม่เข้าใจ ทั้งในช่วงการติวแนวคิด สาระสำคัญ และในช่วงเฉลยข้อสอบ

Print Friendly
ผู้เขียน อ.อรัญญา บุญธรรม (ประวัติการเขียน 17 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสังกัด ภาควิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชศาสตร์


Tags: , , ,

Comments are closed.