ผู้เขียน : ดร.มัณฑนา เหมชะญาติ
03/10/11
รายงานการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเตรียมนักศึกษาชั้นปี 4 สอบสภาฯ ปีการศึกษา 2553 นักศึกษารุ่นที่ 43 จำนวนทั้งหมด 279 คน สรุปประเด็นสำคัญจากการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของฝ่ายวิชาการ ฝ่ายวิจัยและการจัดการความรู้ และอาจารย์ผู้สอน การประชุม ครั้งที่ 2 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 ประธานการประชุม: อ.คนึงนิตย์ พงษ์สิทธิถาวร ประธานการประชุม ผู้บันทึกการประชุม: อ.มัณฑนา เหมชะญาติ ผู้เข้าร่วมประชุม 1. อ.มัณฑนา เหมชะญาติ 7. อ.จิตติยา สมบัติบูรณ์ 2. อ.รัชสุรีย์ จันทเพชร 8. อ.ขนิษฐา เมฆกมล 3. อ.ธนพร ศนีบุตร 9. อ.ลลนา ประทุม 4. อ.นันทวัน ใจกล้า 10. อ.รสสุคนธ์ เจริญสัตย์ศิริ 5. อ.สุชาดา [...]
Tags: การเตรียมนักศึกษา, ฝ่ายวิจัยฯ, ฝ่ายวิชาการ, วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, สอบสภา, ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ผู้เขียน : อ.อรัญญา บุญธรรม
03/10/11
โครงการวิจัยในชั้นเรียน ชื่อเรื่องวิจัย การสะท้อนการจัดการเรียนการสอน วิชา พย.1320 ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต ผุ้รับผิดชอบ อาจารย์อรัญญา บุญธรรม ความเป็นมาและความสำคัญ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่า นักศึกษาให้ข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับการเรียนรู้ในวิชาการพยาบาลจิตเวชว่า ลักษณะเนื้อหาวิชาเป็นนามธรรม เข้าใจยาก การเรียนภาคทฤษฎียังไม่สามรถทำให้นักศึกษาเข้าใจในบทเรียนได้ดี แต่เมื่อได้ผ่านการฝึกภาคปฏิบัติ ทำให้นักศึกษามีความเข้าใจในเนื้อหาวิชามาก ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษารายละเอียดในกระบวนการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในวิชา พย.1320 ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต ว่าแต่ละขั้นคอนที่ทำมาแล้วนั้น ตามการรับรู้ของผู้เรียนมีความเหมาะสม และ มีผลต่อการเรียนรู้ของนักศึกษามากน้อยเพียงใด ทั้งนี้เพื่อนำไปใช้พัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในปีการศึกษาต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนในวิชา พย.1320 ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต กลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาปี 4 ข ที่จบการฝึกภาคปฏิบัติวิชา พย.1320 ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต ปีการศึกษา 2553 จำนวน 135 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามความคิดเห็นการจัดการเรียนการสอนวิชา พย.1320 ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปSPSS(ใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่นงเบนมาตรฐาน และร้อยละ) งบประมาณที่ใช้ในการทำวิจัย ไม่มี วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล อธิบายให้นักศึกษาเข้าใจวัตถุประสงค์ของการเก็บข้อมูล ความปลอดภัยในการให้ข้อมูล [...]
Tags: การจัดการเรียนการสอน, การทำวิจัย, การพยาบาล, การเรียน, ปัญหาทางจิต, พย.1320, ภาควิชาอนามัยชุมชนและจิตเวชศาสตร์, วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
ผู้เขียน : ดร.มัณฑนา เหมชะญาติ
03/09/11
การเตรียมนักศึกษาชั้นปี 4 สอบสภาฯ ปีการศึกษา 2553 นักศึกษารุ่นที่ 43 จำนวนทั้งหมด 279 คน สรุปประเด็นสำคัญจากการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของฝ่ายวิชาการ ฝ่ายวิจัยและจัดการความรู้ และอาจารย์ผู้สอนทั้ง 9 รายวิชา (แยกวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน กับวิชารักษาพยาบาลเบื้องต้น) การประชุม ครั้งที่ 1 วันที่ 29 ธันวาคม 2553 ประธานการประชุม: อ.มัณฑนา เหมชะญาติ ประธานการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุม 1. อ.คนึงนิตย์ พงษ์สิทธิถาวร 9. อ.จิตติยา สมบัติบูรณ์ 2. อ.รัชสุรีย์ จันทเพชร 10. อ.นุชนาถ ประกาศ 3. อ.สุชาดา นิ้มวัฒนากุล 11. อ.ขนิษฐา เมฆกมล 4. อ.ทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์ 12. อ.จริยาพร วรรณโชติ 5. อ.นันทวัน [...]
Tags: การเตรียมนักศึกษา, ฝ่ายวิจัยฯ, ฝ่ายวิชาการ, ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาลและบริหารวิชาชีพ, ภาควิชาอนามัยชุมชนและจิตเวชศาสตร์, วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ผู้เขียน : อ.ทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์
03/07/11
โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและวิชาการร่วมกับแหล่งฝึก
ระหว่างวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรีและกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระปกเกล้า
ครั้งที่ 1 วันที่ 24 มกราคม 2554 เวลา 13.30-16.00 น.
ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
เรื่อง หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
วิทยากร ดร. มัณฑนา เหมชะญาติ
คุณกนกพร สิงขร
คุณพรหมมาตร์ ปฏิสังข์
ผู้เข้าร่วมประชุม
จากวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี และวิทยากร 30 คน
จากโรงพยาบาลพระปกเกล้า 16 คน
รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 46 คน
สรุปรายงานการประชุม
ปัจจุบัน พบว่าโรคเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นและส่งผลกระทบต่อส่วนรวม ดังนั้น บุคลากรทางด้านสาธารณสุขจึงควรให้ความสำคัญในการช่วยกันป้องกันและดูแลผู้ที่เจ็บป่วยเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย ในปัจจุบันการรับประทานอาหาร Fast foods นับว่าเป็นปัจจัยส่งเสริมที่สำคัญปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรคเรื้อรัง เพราะมีการพัฒนาเทคนิคการขายและการโฆษณา ให้เป็นที่สนใจแก่ผู้บริโภค ประกอบกับการผลิต package ของอาหารที่ใหญ่ขึ้น ทำให้มีการรับประทานในปริมาณที่มากขึ้น ส่งผลต่อการเกิดโรคเรื้อรังมากขึ้น
ความหมายของโรคเรื้อรัง ขององค์การอนามัยโลก หมายถึง โรคที่รักษาไม่หาย การรักษาเป็นเพียงการพยุงไม่ให้มีการสูญเสียการทำงานของร่างกายมากขึ้น มักรักษาเกิน 6 เดือน โดยให้ความสำคัญกับโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ 4 โรค ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคเบาหวาน ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแนวโน้มของการเกิดโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการปรุงอาหารเองลดลง มักซื้ออาหารรับประทานมากขึ้น ทั้งที่ปัจจุบันการนำเทคโนโลยีมาอำนวยความสะดวกทำให้เวลาในการหุงข้าวลดลง ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อที่องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญได้แก่ การรับประทานอาหารไม่เหมาะสม การไม่ออกกำลังกายหรือออกกำลังกายไม่เพียงพอ การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ โดยแนะนำหลักการป้องกันและควบคุมโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ (NCDs) ดังนี้
1. Promote ส่งเสริมการมีชีวิตที่มีสุขภาพที่ดี เช่น การรับประทานอาหารที่คุณภาพมากขึ้น ออกกำลังกายมากขึ้น ลดการดื่มสุราและสูบบุหรี่ ทำให้เกิดสังคมสุขภาพที่ดี ให้ความสำคัญกับกลุ่มคนที่ยากจนหรือด้อยโอกาส
2. Prevent ป้องกันการตายก่อนวัยอันควรและหลีกเลี่ยงความเสื่อมหรือความพิการจากโรคเรื้อรัง ซึ่งบางครั้งเกิดจากสาเหตุธรรมดาที่น่าป้องกันได้
3. Treat ควรพัฒนาการรักษาโรคเรื้อรังให้มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมประชาชนทุกระดับ โดยเฉพาะกลุ่มที่ยากจนมากที่สุด
4. Care ควรจัดหาหรือช่วยเหลือผู้ป่วยเรื้อรัง ได้รับการดูแลที่เหมาะสมและมีคุณภาพ ในประเทศสหรัฐอเมริกา อาจกล่าวได้ว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีค่าใช้จ่ายในการซ่อมสุขภาพที่แพงที่สุดในโลก
Tags: 2554, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง, วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, โรงพยาบาลพระปกเกล้า