แบบสอบถามการปฏิบัติของอาจารย์ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวชศาสตร์ เพื่อเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ปีการศึกษา 2552-2553
วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
แบบสอบถามการปฏิบัติของอาจารย์ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวชศาสตร์
เพื่อเตรียมนักศึกษาสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ปีการศึกษา 2552-2553
1. ท่านมีวิธีการดึงความสนใจหรือกระตุ้นนักศึกษาก่อนและระหว่างการสอนเนื้อหาวิชา ดังนี้
1.1 วิธีการดึงความสนใจหรือกระตุ้นนักศึกษาก่อนการสอนเนื้อหาวิชา
-
- เน้นย้ำให้เห็นความสำคัญและการตระหนักว่า ผลการสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯมีผลกระทบต่อตัวนักศึกษาอย่างไร
- การท้าทายนักศึกษาถึงผลการสอบของกลุ่มของตนเอง
- พูดแนะนำประสบการณ์ตรงของตนเองที่มีให้นักศึกษาได้รับทราบ
- แนะนำวิธีการเตรียมตัวและความพร้อมในการสอบโดยใช้หลัก “ฟิตให้พร้อม ซ้อมให้ถึง มีชัยไปกว่าครึ่ง”
- Pre-test
1.2 วิธีการดึงความสนใจหรือกระตุ้นนักศึกษาระหว่างการสอนเนื้อหาวิชา
-
- การทำข้อสอบ และการสอนวิธีและเทคนิคการทำข้อสอบ
- กระตุ้นโดยการถามคำถาม และให้นักศึกษาตอบ หรือสุ่มถามเป็นรายบุคคล
- สอบถามนักศึกษาในองค์ความรู้เป็นระยะ ๆ
- ให้ทดลองทำข้อสอบก่อนและเฉลย เพื่อเชื่อมโยงสู่การสอนในเนื้อหาวิชา
- แบ่งกลุ่มย่อยให้อภิปราย
- ศึกษาดูงานในสถานที่จริง เช่น ดูงานชุมชนเข้มแข็งที่จังหวัดของตนเองแล้วนำมาอภิปราย
2. ท่านใช้วิธีการและเทคนิคการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจ หรือจดจำเนื้อหาวิชาได้มากขึ้นดังนี้
2.1 การเฉลยข้อสอบที่เชื่อมโยงเข้าสู่เนื้อหา
2.2 การทำ key concept
2.3 การถาม-ตอบ ประเมินความเข้าใจในระหว่างการสอน
2.4 ใช้หลักการ “สนุก ง่าย ได้ผล คงทน และยั่งยืน” ให้นักศึกษามีความรู้สึกสบาย ผ่อนคลาย ฝึกสมาธิ เสริมความรู้ทางด้านวิชาการเข้าไป ไม่เคร่งเครียดมาก ทบทวนบ่อย ๆ
2.5 ใช้ mapping และให้นักศึกษาจำ concept หลัก
2.6 การสอนมีรูปภาพประกอบ
2.7 สอนเฉพาะประเด็นที่สำคัญ
2.8 สอนหลักการจำ เช่น คำคล้องจอง ความเกี่ยวข้องของคำและความหมาย
2.9 ทบทวนความรู้ตาม concept โดยสอบถามนักศึกษาที่ละประเด็นภายหลังการสอน
2.10 ยกตัวอย่างประเด็นข้อคำถามที่มักพบบ่อย ๆ
2.11 แบ่งกลุ่มนักศึกษาเป็นกลุ่มย่อย ให้ตอบโจทย์ main concept โดยวิธีต่าง ๆ เช่น mind mapping
2.12 ศึกษาดูงานในสถานที่จริง และใช้วิทยากรบรรยาย
2.13 ครูตั้งคำถามให้นักศึกษาตอบ และนักศึกษาตั้งคำถามให้ครูตอบ
3. ท่านมีวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ในห้องเรียนที่มีนักศึกษาจำนวนมาก (100 คน) ดังนี้
3.1 สุ่มถามนักศึกษา
3.2 สอบทบทวนความรู้
3.3 ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการประเมินผล
3.4 ให้ทำแบบทดสอบในห้องเรียนหลังสอนพร้อมเฉลยประกอบการอธิบาย และสอนเทคนิคการเลือกคำตอบที่ถูกต้อง
3.5 Pre-test
3.6 quiz test
3.7 ทำสรุป key concept
4. ท่านคิดว่า การเตรียมนักศึกษาเพื่อการสอบฯอย่างมีประสิทธิภาพ ควรเป็นดังนี้
4.1 สอนเนื้อหาหลักในการสอบฯใหม่ทั้งหมด โดยแยกกลุ่มเด็กอ่อนและเด็กเก่ง
4.2 เริ่มทำการเตรียมตั้งแต่เทอมที่ 1
4.3 ให้นักศึกษาทำสัญญาการเรียนรู้ พร้อมทั้งให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบ-ประเมินผล
4.4 เตรียมความพร้อมตั้งแต่เริ่มต้น ฝึกทบทวนความรู้บ่อย ๆ
4.5 ประเมินความรู้เดิมของนักศึกษา พร้อมประเมินความต้องการว่านักศึกษาไม่เข้าใจในเนื้อหาใด
4.6 ให้นักศึกษาอ่านหนังสือมาก่อน และอาจารย์ติวให้อีกครั้ง
4.7 สอบวัดความรู้โดยใช้ข้อสอบหลังการติว หากผลการสอบไม่ดีให้แบ่งกลุ่มติวอีกครั้งหนึ่ง
4.8 สอนเป็นกลุ่มย่อย โดยแบ่งนักศึกษาออกเป็นกลุ่มตามผลการเรียน
4.9 ฝึกสมาธิของนักศึกษาก่อนการเรียน
4.10 ให้นักศึกษาทำข้อสอบหลาย ๆ ชุด เชื่อมโยงสู่เนื้อหาวิชาขณะที่เฉลยข้อสอบ
5. ท่านได้รับรู้ / รับฟัง / เรียนรู้เกี่ยวกับการเตรียมตัวนักศึกษาเพื่อสอบฯจากบุคคลอื่นทั้งภายในและภายนอกวิทยาลัย ซึ่งท่านเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ มีประเด็นดังนี้
5.1 มีการฝึกทำข้อสอบบ่อย ๆ
5.2 ทบทวนความรู้และสรุปเป็นระยะ ๆ
5.3 ศึกษาว่าทำไมนักศึกษาที่มีผลการเรียนไม่ค่อยดีนักถึงสอบผ่านได้ 8 รายวิชา โดยศึกษาว่านักศึกษาทำอย่างไร วางแผนตัวเองอย่างไร
5.4 ออกแบบ road map, master plan, และการจัดการเรียนการสอนให้เอื้อต่อการเรียนรู้และสอดคล้องกับเนื้อหาวิชาหลักที่สอบฯ
6. ในปีการศึกษา 2553 ซึ่งนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ประมาณ 280 คน ท่านเห็นว่าวิทยาลัยและอาจารย์ผู้รับผิดชอบควรเตรียมนักศึกษาสำหรับการสอบอย่างไร
6.1 สอนเนื้อหาหลักในการสอบฯใหม่ทั้งหมด โดยแยกกลุ่มเด็กอ่อนและเด็กเก่ง
6.2 เริ่มทำการเตรียมตั้งแต่เทอมที่ 1
6.3 ให้นักศึกษาทำสัญญาการเรียนรู้ พร้อมทั้งให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบ-ประเมินผล
6.4 สอนเสริมความรู้ให้กับนักศึกษาโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วม
6.5 ตั้งกลุ่มวิชาการประจำห้องเพื่อช่วยสรุปสาระการเรียนรู้
6.6 ประเมินความรู้ของนักศึกษา
6.7 แบ่งกลุ่มนักศึกษาเป็น 3-4 กลุ่ม จัดเวลาให้นักศึกษาได้อ่านหนังสือทบทวนด้วยตนเองก่อน และให้อาจารย์ติวอีกครั้ง พร้อมสอบวัดผล
6.8 ใช้การติวนักศึกษาเป็นกลุ่มย่อย แต่ต้องใช้เวลามากดังนั้นจึงจำเป็นต้องเริ่มการติวตั้งแต่เนิ่น ๆ
6.9 เริ่มการติวขณะฝึกภาคปฏิบัติ โดยติวสัปดาห์ละ 5-10 ชั่วโมง
6.10 ติวนอกเวลาระหว่าง 17.00-19.00 น. วันจันทร์ถึงพฤหัสบดี ตั้งแต่ต้นปีการศึกษา
7. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของท่านสำหรับการจัดการความรู้เพื่อการเตรียมนักศึกษาสอบฯ
7.1 ควรเริ่มต้น ณ บัดนี้
7.2 ไม่กดดันนักศึกษาจนเกินไป
7.3 มีการให้กำลังใจกับนักศึกษา โดยการให้รางวัล
7.4 ให้อาจารย์ได้เตรียมตัวตนเอง และหัดทำข้อสอบด้วย
เริ่มแรกเข้ามาศึกษา ลักษณะของ เฟสบุ๊คว่าเป็นอย่างไร ทำให้เข้าใจได้หลากหลาย ในการเตรียมความพร้อมผู้เรียนก่อนสอบสภามากขึ้นค่ะ