สรุปความรู้ที่ได้จากการประชุมวิชาการ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี ๒๕๖๑
สรุปความรู้ที่ได้จากประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี ๒๕๖๑
วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๑ ณ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
สรุปสาระสำคัญดังนี้
๑. ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ ( Deep vein thrombosis )
ภาวะ Deep vein thrombosis มีแนวโน้มและโอกาสที่จะพบได้มากขึ้น ขึ้นอยู่กับพฤติกรรม หรือการทำ ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหานี้ได้ ทำให้คนไข้ต้องอยู่โรงพยาบาลนานขึ้น รวมถึงปัจจัยอื่นๆที่ทำให้เกิดได้เช่น การรับประทานยาคุมกำเนิด การผ่าตัดก้อนเนื้องอก สูติแพทย์ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ (Deep vein thrombosis) ได้อธิบายว่า การนอนนานๆ ทำให้การไหลเวียนโลหิตไม่ดี และมีข้อสังเกตจากการศึกษา พบว่าภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำนี้ มักเกิดข้างซ้าย และส่วนใหญ่มักเกิดในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ เกิดจากภาวะ hyper coagulation blood เลือดของมารดาจะแข็งตัวมากขึ้น การรักษาหรือการปวดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เป็นสิ่งที่แพทย์พึงตระหนักถึงการเกิดภาวะ Deep vein thrombosis ได้ มีแนวทางปฏิบัติคือ การหาแนวทางการป้องกัน การลดอาการเจ็บปวด การลดระยะเวลายาวนานของการปวดและการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
๒. ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตอยู่ผิดที่ (The Suitable management of endometriosis: Empirical vs. Post-operative treatment)
ภาวะ Endometriosis หมายถึง เยื่อบุโพรงมดลูกไปเจริญเติบโตอยู่ผิดที่นอกโพรงมดลูก พบบ่อยในสตรีวัยเจริญพันธุ์ อายุระหว่าง 25-30 ปี โดยอาจแทรกตัวอยู่ในผนังหรือกล้ามเนื้อมดลูก หรืออาจเล็ดลอดเข้าไปในช่องท้องจนไปเจริญเติบโตอยู่ตามอวัยวะต่างๆในอุ้งเชิงกราน เช่น เยื่อบุช่องท้อง รังไข่ ผนังลำไส้ และผนังกระเพาะปัสสาวะ และบางครั้งอาจกระจายไปสู่อวัยวะที่อยู่ไกลออกไป เช่น กระบังลม ปอด และ ช่องเยื่อหุ้มปอด ถือเป็นปฏิกิริยาการอักเสบที่เกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจน แต่ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตอยู่ผิดที่นี้ แม้อยู่ผิดที่ก็ยังคงทำหน้าที่เช่นเดิม คือ สร้างประจำเดือน จึงทำให้มีเลือดสีแดงคล้ำหรือเลือดสีดำข้นคล้ายช็อกโกแลตขังอยู่ตามอวัยวะต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของอาการผิดปกติต่างๆที่พบได้ เช่น ปวดท้องประจำเดือน ปวดท้องน้อยเรื้อรัง มีบุตรยาก เป็นโรคเรื้อรัง ต้องมีการวางแผนรักษาอย่างเป็นระบบ โดยขึ้นกับความต้องการมีบุตรและความพึงพอใจของผู้รับบริการเป็นสำคัญ มักมาด้วยอาการ low back pain อาจมีคลื่นไส้อาเจียน หรือท้องเสียร่วมด้วย ซึ่งมีการรักษา/บำบัดโดยการใช้ยา (Medical treatment) คือ พิจารณาให้ยาโดยใช้ dose ต่ำๆ
ตัวอย่างกรณีศึกษาของพยาบาลที่ไม่มีประจำเดือน (dysmenorrhea) เป็นเวลา 4 ปี มีเลือดออกแบบไม่ทราบสาเหตุ ตรวจพิเศษโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound) พบก้อนโตขนาด 9.8 x 2 cm แพทย์เจาะ CA ซึ่งเป็น cell surface antigen ของ coelomic epithelium ใน serum เพื่อตรวจคัดกรองโรคขึ้นสูง แพทย์พิจารณาให้ยา ponstan รับประทานแล้วไม่ดีขึ้น ซึ่งแพทย์จำเป็นต้องใช้ทักษะในการรักษา ดังนั้น แพทย์หลายท่านจึงกล่าวว่า การที่ให้ early empirical treatment มีความสำคัญที่สามารถลดภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตอยู่ผิดที่นอกโพรงมดลูกได้ โดยอาศัย guide Line เช่น การดูเกรด A เกรด B ของภาวะการเจริญเติบโตผิดที่ของเยื่อบุโพรงมดลูก สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ option ในการรักษา เช่นการใช้ combined pills ซึ่งควรพิจารณาควบคู่กับความพึงพอใจของผู้รับบริการด้วยว่า เขามีความพึงพอใจแบบไหน เช่น อาการภายหลังการรับยา หรือค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล รวมทั้ง empires treatment เช่น การรับยา NSAID ซึ่งยาชนิดนี้ก็แค่เพียงการประคับประคอง แต่การรักษาอันดับแรก สูติแพทย์แนะนำให้ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด (combined pills) และในผู้ที่มีโครงการจะมีบุตร ควรแนะนำให้รีบตั้งครรภ์โดยเร็วที่สุด