การพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยและการผลิตผลงานวิชาการของอาจารย์
วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
รายงานการประชุม COP ฝ่ายวิจัยและการจัดการความรู้
ครั้งที่ 3 วันที่ 16 มิถุนายน 2557 เวลา 8.30 – 10.00 น.
ณ ห้องประชุมกลุ่ม 1 อาคารอำนวยการชั้น 1 วพ.พระปกเกล้า จันทบุรี
- เรื่อง การพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยและการผลิตผลงานวิชาการของอาจารย์
- วัตถุประสงค์ในการดำเนินการครั้งนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการปฏิบัติเพื่อส่งเสริม การผลิตงานวิจัยของอาจารย์ในวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก
- ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 9 คน ได้แก่
- ดร.พรฤดี นิธิรัตน์ ประธานกลุ่ม
- อ. สุมาลี ราชนิยม สมาชิก
- อ. ธัสมน นามวงษ์ สมาชิก
- อ. จริยาพร วรรณโชติ สมาชิก
- อ. จารุณี ขาวแจ้ง สมาชิก
- อ. รัชสุรีย์ จันทเพชร สมาชิก
- อ. จารุวรรณ์ ท่าม่วง สมาชิก
- ดร. วรรณวิมล เนตร์กระจ่าง สมาชิก
- อ. รัชชนก สิทธิเวช เลขานุการ
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ประเด็นสำคัญ |
สาระสำคัญ/ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (เรื่องเล่าความสำเร็จ) |
อ้างอิง (ชื่อ-สกุล) |
1. แนวทางการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการผลิตงานวิจัยของอาจารย์ในวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก | แนวทางการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการผลิตงานวิจัยของอาจารย์ในวิทยาลัยบางแห่งที่สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก มีดังนี้
1.1 ให้อาจารย์แต่ละท่านทำงานวิจัยตามความสมัครใจ แต่พบว่าผลงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จึงเปลี่ยนเป็น มีการกำหนดค่าตัวชี้วัดและคิดเป็นค่าคะแนนผลงานสำหรับการประเมินผลการปฏิบัติราชการในแต่ละรอบการประเมิน โดยให้อาจารย์ที่มีประสบการณ์น้อยในการทำวิจัยหรือผลิตผลงานวิชาการทำคู่กับอาจารย์ที่มีประสบการณ์มากกว่า ซึ่งพบว่ามีการผลิตผลงานเพิ่มขึ้นกว่าเดิม 1.2 มีการกำหนดเป็น PA ให้เป็นหัวหน้างานวิจัยปีเว้นปี หากวิจัยได้ตีพิมพ์จะให้เป็นผลงานเด่น และมีงบวิจัยให้อย่างน้อย 20,000 บาทต่อคนต่อปี แต่ยังไม่บรรลุตามเป้าหมาย ซึ่งต้องหาแนวทางต่อไปว่าจะทำอย่างไร 1.3 มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศเพื่อขอทุนและมีผู้นำในการทำวิจัยเป็นทีม โดยมีประเด็นใหญ่และกระจายเป็นงานวิจัยย่อย ๆ หลาย ๆประเด็น ซึ่งทำให้มีการผลิตงานวิจัยได้มากขึ้น |
ดร.พรฤดี นิธิรัตน์
อ. สุมาลี ราชนิยม อ. ธัสมน นามวงษ์ อ. จริยาพร วรรณโชติ อ. จารุณี ขาวแจ้ง อ. จารุวรรณ์ ท่าม่วง ดร.วรรณวิมล เนตร์กระจ่าง อ. รัชชนก สิทธิเวช |
2. แนวทางเพิ่มเติมในการส่งเสริม การผลิตงานวิจัยของอาจารย์ในวิทยาลัย | แนวทางเพิ่มเติมในการส่งเสริมการผลิตงานวิจัยของอาจารย์ มีดังนี้
2.1 ให้เงินรางวัลเพื่อเป็นแรงจูงใจและขวัญกำลังใจแก่ผู้ทำวิจัย โดยรองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยฯจะเป็นผู้นำเสนอแนวทางกับคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยต่อไป 2.2 ดำเนินการขอทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สปสช. และจาก สช. ในปีต่อ ๆ ไป หลังจากที่ฝ่ายวิจัยได้ดำเนินการขอทุนได้แล้ว ในปีงบประมาณ 2557 เพื่อให้มีทุนทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง และเพียงพอตามตัวบ่งชี้การประเมินสถาบัน เนื่องจากหน่วยงานเหล่านี้ ให้ทุนก้อนใหญ่ แต่ลักษณะงานวิจัยจะเป็นลักษณะวิจัยชุมชน วิจัยเชิงนโยบาย หรือเพื่อการพัฒนา ซึ่งมีวิธีดำเนินการต่างจากวิจัยเชิงปริมาณ ทั้งนี้จะมีการจัดสรรให้ทำวิจัยครบทุกภาควิชา 2.3 มีการทำวิจัยร่วมกันระหว่างอาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยมากและอาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยน้อย โดยให้อาจารย์ที่มีประสบการณ์มากกว่าเป็นผู้ทำวิจัยหลักเพื่อให้อาจารย์ที่ร่วมทำวิจัยด้วยได้เรียนรู้กระบวนการทำวิจัยไปพร้อมกับการทำวิจัยจริง อย่างน้อย 1 เรื่อง |
ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้
1. แนวทางการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการผลิตงานวิจัยของอาจารย์ในแต่ละวิทยาลัยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดมีความแตกต่างกัน
2. ฝ่ายวิจัยฯควรศึกษาแนวทางการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการผลิตงานวิจัยและการผลิตผลงานวิชาการของอาจารย์ที่ทำให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด จากสถาบันอื่น ๆ
แนวทางการนำความรู้ไปใช้
ดำเนินการพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการผลิตงานวิจัยของอาจารย์ให้เป็นรูปธรรม
จบกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 3 เวลา 10.00 น.
(นางรัชชนก สิทธิเวช) ผู้จดบันทึก
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ