กลยุทธ์การสอนเพื่อการพัฒนากระบวนการคิด
วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
CoP ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน
เรื่อง กลยุทธ์การสอนเพื่อการพัฒนากระบวนการคิด
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 9 คน ได้แก่
1. นางราตรี อร่ามศิลป์ 2. นางสาวลลิตา เดชาวุธ
3. นางพัทธยา เกิดกุล 4. นางนันทวัน ใจกล้า
5. นางจารุณี ตฤณมัยทิพย์ 6. นายทองใหญ่ วัฒนศาสตร์
7. นางสาวสายใจ จารุจิตร 8. นางสาววรรณศิริ ประจันโน
9. นางสาวเสาวภา เล็กวงษ์
สาระสำคัญ/ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รูปแบบการสอนเพื่อให้นักศึกษาเกิดกระบวนการคิดที่ใช้ในปัจจุบันในการนิเทศนักศึกษา คือ กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอและการจัดโครงการในการแก้ปัญหาด้านสุขภาพ ผ่านการปฏิบัติและการ conference ของอาจารย์ จากการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของอาจารย์ภายในภาควิชา ได้สนใจในกระบวนการของการ Debriefing ซึ่งจะสามารถนำไปพัฒนาในการนิเทศนักศึกษาในภาคปฏิบัติได้
Debriefing เป็นกระบวนการทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จำลองต่างๆ เพื่อพัฒนากระบวนการใช้เหตุผลทางคลินิก (clinical reasoning) และทักษะการตัดสินใจ (judgment skills) โดยผ่านการสะท้อนคิด (reflective learning process) นักศึกษาต้องได้ประสบการณ์ความรู้และทักษะการพยาบาลที่สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงอื่นๆ นักศึกษาต้องเรียนรู้เพื่อจะปรับใช้ได้ในบริบทต่าง ๆ ซึ่งการใช้สถานการณ์จำลองจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งการทบทวน (debriefing) เป็นขั้นตอนที่สำคัญ
แนวทางการนำความรู้ไปใช้
1. ประยุกต์ใช้ Debriefing ในรายวิชาพย. 1310 ปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1
โดยมีขั้นตอนการทำ debriefing ดังนี้
1.1. การให้ระบายความรู้สึก ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที โดยใช้คำถาม เช่น
- อะไรที่คิดถึงเป็นอันดับแรกในสถานการณ์
- ระบุสิ่งใดที่ผิดหรือสิ่งที่ถูก พร้อมให้เหตุผล
- จะทำอย่างไรที่สามารถทำให้ดีขึ้น
1.2. การอภิปรายถึงเรื่องราวของผู้ป่วย/ผู้รับบริการ หรือเหตุการณ์ในสถานการณ์
1.3. การระบุปัญหาหรือความผิดปกติที่พบ ว่ามีอะไรบ้าง เกิดจากสาเหตุใด ได้จัดการแก้ปัญหา
อย่างไร รวมทั้งอธิบายเหตุผล
1.4. อภิปรายถึงผลที่เกิดขึ้น ว่าเป็นอย่างไร ดีหรือไม่ดีอย่างไร และจะแก้ไขในครั้งต่อไปอย่างไรสรุป
ปัญหา และการประเมินหลัก ๆ
1.5. การสะท้อนคิด และการกระเมินโดยการใช้สถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน ให้คิด
2. ช่วงเวลาในการทำ ให้ทำในขณะ Post conference อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือเมื่อมีเหตุการณ์ที่เป็นประเด็นปัญหาเกิดขึ้น
3. การประเมินผล อาจารย์สรุปผลการทำการ debriefing แต่ละครั้ง
ลงชื่อ นางราตรี อร่ามศิลป์ ผู้จดบันทึก