การสอนแนะ (coaching)

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า  จันทบุรี

รายงานการประชุม COP ภาควิชาบริหารและพื้นฐานการพยาบาล

ครั้งที่ 1 วันที่  29 เมษายน  2556  เวลา 14.30 – 15.30 น.

ณ ห้องรับรอง  อาคารอำนวยการชั้น 1 วพ.พระปกเกล้า  จันทบุรี

 

  1. เรื่อง  การสอนแนะ (coaching)
  2. วัตถุประสงค์ในการดำเนินการครั้งนี้  เพื่อเป็นแนวทางในการนำการสอนแนะไปใช้ในการสอนภาคทดลองในรายวิชาที่ภาควิชารับผิดชอบ
  3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน  12 คน  ได้แก่
    1. อ. จิตติยา             สมบัติบูรณ์       ประธานกลุ่ม
    2. ดร.ศรีสกุล             เฉียบแหลม       สมาชิก
    3. อ. พุฒตาล            มีสรรพวงศ์       สมาชิก
    4. อ. ภโวทัย             พาสนาโสภณ     สมาชิก
    5. อ. สุมาลี               ราชนิยม                    สมาชิก
    6. อ. โสภา               ลี้ศิริวัฒนกุล      สมาชิก
    7. อ. คณิสร              แก้วแดง          สมาชิก
    8. อ. นิศารัตน์           รวมวงษ์          สมาชิก
    9. อ. วิภารัตน์           ภิบาลวงษ์        สมาชิก
    10. อ. บุษยารัตน์         ลอยศักดิ์          สมาชิก
    11. อ. จันจิรา             หินขาว           สมาชิก
    12. อ. รัชชนก           สิทธิเวช           เลขานุการ

page1 page2

ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้ 

1. คุณลักษณะของผู้สอนแนะเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การสอนแนะประสบความสำเร็จได้

2. ข้อควรระวังในการสอนแนะเป็นสิ่งที่ผู้สอนแนะควรมีความตระหนักและพึงระลึกอยู่เสมอ

 

แนวทางการนำความรู้ไปใช้

นำวิธีการสอนแนะไปใช้ในการสอนภาคทดลอง  ปีการศึกษา 2556 จำนวน  2 วิชา  ได้แก่                    วิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาล   และวิชาการประเมินสุขภาพ   โดยผู้สอนที่เป็นอาจารย์ในภาควิชา               ที่สอนภาคทดลองใน 2 วิชานี้   ควรมีคุณลักษณะของผู้สอนแนะและมีความตระหนักถึงข้อควรระวังใน               การสอนแนะ

 

จบกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ครั้งที่ 1 เวลา 15.30 น.

 

 

 

(นางรัชชนก   สิทธิเวช)  ผู้จดบันทึก

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

 

Print Friendly
ผู้เขียน อ.รัชชนก สิทธิเวช (ประวัติการเขียน 28 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสังกัด ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล และบริหารวิชาชีพ


Tags: , ,

2 Responses to “การสอนแนะ (coaching)”

  1. เห็นด้วยกับคุณลักษณะต่างๆที่ผู้สอนแนะควรจะมีตามที่ อ.รัชชนก นำเสนอค่ะ…ในความคิดเห็นส่วนตัวคิดว่าสิ่งสำคัญอีกสองประการที่ครู(ผู้สอนแนะ)ควรมี ประการแรก คือ การยอมรับในเรื่องความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน อันจะนำมาซึ่งความเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจในขณะที่พบปัญหาในระหว่างการ Coaching เช่น นักศึกษาไม่ใส่ใจ ไม่รับผิดชอบ เรียนรู้ได้ช้า ทำไม่ถูกต้อง ฯลฯ ผู้สอนแนะจะได้ไม่หงุดหงืดค่ะ ประการที่สองที่ต่อเนื่องจากปัญหาที่อาจพบได้บ่อยในขณะสอนแนะตามที่ได้กล่าวมา มักทำให้ผูสอนแนะะหงุดหงิด ไม่พอใจ บางครั้งอาจรู้สึกโกรธ ผู้สอนแนะจึงควรมีสติตามรู้อารมณ์ตัวเองให้เร็วที่สุด เพราะหากขาดคุณลักษณะ 2 ประการดังที่ได้กล่าวมา อาจจะทำให้ผู้สอนแนะมีสีหน้า ท่าทางและการแสดงออกที่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกกลัว วิตกกังวล ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ค่ะ

  2. สุกัญญา พูดว่า:

    เห็นด้วยกับอาจารยืรัชชนกค่ะ ความใจเย็นกับนักศึกษาช่วยได้แต่เราจะต้องเพิ่มเรื่องของการกระตุ้นความคิดและฟังเหตุผลกับนักศึกษาด้วย เพราะในการตอบคำถามของนักศึกษาหากเราไม่ฟังสิ่งที่นศ.คิดหรือไม่ฟังเหตุผลของนักศึกษาเราอาจจะตัดสินว่าความคิดของนักศึกษาผิดทั้งๆที่ความเป็นจริงความคิดนั้นถูกต้องแต่ไม่ได้ถูกต้องทั้งหมด เราจะต้องเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกกระตุ้นความคิดค่ะ เพราะเคยมีประสบการณ์สอนนักศึกษาในเรื่องของการฉีดยาเข้าชั้นผิวหนัง เคยถามนักศึกษาว่าใช้สำลีกี่ก้อน นักศึกษา ตอบตั้งแต่ 1-3 ก้อน หากเราตัดสินเค้าเลยตอนนั้นอาจจะบอกว่า3 ก้อนถูก เพราะเช็ดขวดยา 1 ก้อน เช็ดที่บริเวณที่ฉีด1 ก้อน และหลังจากฉีดหากมีเลือดออกให้เช็ดเลือดอีก 1 ก้อน แต่ความจริงแล้วคนที่ตอบ 1 ก้อนอาจจะคิดเฉพาะตอนเตรียมยา คนที่ตอบ 2 ก้อนอาจคิดแค่ เตรียมเช็ดขวดยาและเช็ดผิวหนังซึ่งเหตุผลที่เค้าบอกมาไม่ผิดเลยค่ะแต่ไม่ครบถ้วนทั้งกระบวนการต่างหากค่ะ