เทคนิคการเขียนแผนการพยาบาลแบบจำConcept

แนวคิดจากประสบการณ์ส่วนตัวในการตรวจNCP ของนศ.ว่าครอบคลุมหรือไม่  คิดว่าน่าจะครอบคลุมและใช้ได้กับทุกๆปัญหา

1.เริ่มต้นคุณต้องรู้ข้อมูลทุกอย่าง(ขอย้ำว่าทุกอย่าง)ของผู้ป่วย จากนั้นต้องอ่านเรื่องโรคและยา labรวมทั้งพยาธิสภาพ

2.คิดข้อวินิจฉัย ถ้าคิดไม่ออก ก็อ่านโรคจะเข้าใจอาการ หรืออ่านหนังสือบางเล่มมีข้อวินิจฉัยแบบย่อๆจากนั้นให้แบ่งปัญหาเป็นสองส่วน คือ เหตุที่เกิดกับผลที่เกิด

3.ข้อมูลสนับสนุน จริงๆแล้วน่าจะต้องมีข้อมูลก่อน แต่สำหรับมือใหม่หัดเขียนอนุโลมให้หาข้อมูลมาใส่ทีหลัง ฝึกบ่อยๆจะได้ข้อมูลแล้วคิดปัญหาได้ จากนั้นดูปัญหาทีละส่วนโดยใช้หลักการดูดังนี้ 3.1 ข้อมูลคำบอกเล่าจากผู้ป่วย ญาติ 3.2อาการ อาการแสดงจากผู้ป่วยที่พบหรือจากการบันทึกที่มี รวมตรวจร่างกาย และv/s และ monitorต่างๆ 3.3ผลLabต่างๆ ตรวจฉี่ ตรวจเลือดและอื่นๆ) 3.4ผลตรวจพิเศษ(x-ray ,CT ,ECG,echoเป็นต้น)ถ้าข้อมูลใดซ้ำกันก็เขียนครั้งเดียว

4. การเขียนanalysis ก็ให้อ่านทฤษฎีและอธิบายเชื่อมโยงอาการ โรค lab กับปัญหาที่เกิดขึ้น

5.วัตถุประสงค์เป็นเป้าหมาย ที่มีทั้งการป้องกันและแก้ไขทั้งระยะสั้นและระยะยาว บางครั้งจะแก้ได้ทั้งปัญหาและสาเหตุ บางครั้งแก้ปัญหาได้เช่นวิตกกังวลจากการตัดขาเพื่อการรักษา นศ.แก้ไขขาที่ตัดไม่ได้แต่ช่วยเรื่องวิตกกังวลได้

6.เกณฑ์การประเมินผล ตัววัดว่าผ่านวัตถุประสงค์หรือไม่ ใช้แนวคิดเดียวกับ 3.1-3.4แต่ให้เขียนสิ่งที่จะต้องไม่เกิดหรือเกิดลดลง(แล้วแต่ว่าเป็นการดูแลระยะสั้น ระยะยาว)จากข้อมูลเดิม เพราะถ้าเขียนกว้างๆ แสดงว่าคุณไม่สามารถประเมินได้จริง

7.กิจกรรมการพยาบาลจะสอดคล้องกับเกณฑืที่คุณตั้งไว้ โดยจัดลำดับว่า ประเมิน ดูแล ประเมิน และคิดเสมอว่า ทำกิจกรรมที่พยาบาลทำได้ก่อน ตามบทบาทหน้าที่ของพยาบาลในขณะที่แพทย์ยังไม่ได้มีแผนการรักษา แล้วดึงแผนการรักษามาร่วมเพิ่ม สิ่งสำคัญต้องดูความเป็นปัจเจกบุคคลของผู้ป่วยและความรู้เรื่องโรค เช่นผู้ป่วยแพ้ยาพาราแต่มีไข้ หรือเป็นโรคตับหากนักศึกษาไม่รู้ความเป็นปัจเจกบุคคลและความรู้เรื่องโรคของผู้ป่วย แล้วให้ยาอาจทำให้เกิดอันตรายได้ เรื่องยาคุณจะต้องบอกได้ว่าเวลาให้ยาสิ่งสำคัญที่จะต้องดูแลผู้ป่วยก่อน ขณะหลังให้คืออะไรโดยอ่านจากทฤษฎีแล้วเขียน เพราะบางคนใช้การคัดลอกเช่นการให้ยาฉีดต้องให้ยาอย่างช้าๆ แต่ผู้ป่วยได้ยาชนิด กินก็แสดงว่าคุณไม่ได้มองที่ผู้ป่วยแต่มองที่ทฤษฎีการตรวจหรือทำกิจกรรมอื่นๆก็เช่นกัน

8.ประเมินตามเกณฑ์ไม่ใช่ตามกิจกรรมที่ทำเพราะตามกิจกรรมคุณเขียนไว้ในบันทึกทางการพยาบาล(Nurse’s note)แล้ว

9.ดูให้ครบทั้งกายจิต อารมณ์ สังคม จิตวิญญาณทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแล ให้ครบการส่งเสริมป้องกัน รักษา ฟื้นฟู

หากมีข้อเสนอแนะเทคนิคที่จะทำให้นักศึกษาของเราสามารถจับประเด็นในการเขียนแผนการพยาบาลที่ดีเพื่อเป็นแนวทางการดูแลที่มีประสิทธิภาพ ขอเชิญมาแลกเปลี่ยนกันนะคะ

Print Friendly
ผู้เขียน อ.สุกัญญา ขันวิเศษ (ประวัติการเขียน 2 เรื่อง)

อาจารย์พยาบาลสังกัด ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ


10 Responses to “เทคนิคการเขียนแผนการพยาบาลแบบจำConcept”

  1. อ.นุชนาถ ประกาศ พูดว่า:

    บางที่เมื่อนักศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลทุกอย่างมาแล้ว ทำยังไงก็ยังเขียนปัญหาไม่ออก ให้หันไปดูแผนการรักษาของแพทย์ เพราะว่าแผนการ
    รักษาของแพทย์จะสะท้อนปัญหาผู้ป่วยออกมาเหมือนกัน จะดูว่าปัญหาทางกายครบหรือไม่ครบถ้ารวบรวมข้อมูลแล้วก็ยังตั้งปัญหาไม่ได้ ขอให้พิจารณาแผนการรักษาด้วยนะจ๊ะ

  2. อ.ศศิโสภิต แพงศรี พูดว่า:

    เพิมเติมค่ะ
    สำหรับมือใหม่ที่หาข้อมูลมามากมายแต่จับกลุ่มยังไม่ได้ให้พยายามเขียนข้อมูลทั้งหมดก่อนแล้วพยายามโยงข้อมูลที่คิดว่าเป็นส่วนเดียวกัน เช่น โรคไตวายเฉียบพลัน
    ARF—–>เหนื่อย——>บวมกดบุ๋ม——->ฟังปอดมี crapitation——>intake>output—->BUN , Creatinin สูงสัดส่วน 1:10 —–>หลังจากนั้นก็ลองประมวลข้อมูลคร่าวๆ ผู้ป่วยรายนี้น่าจะมีปัญหาน้ำเน่าที่เกิน ปัญหาน่าจะมาจากไตเสีย
    ดูแล้วไม่ยากเลย
    แต่ขอยั้มนะคะว่าต้องอ่านหนังสือก่อนเพราะจะได้รวมกลุ่มข้อมูลได้

  3. chanchai พูดว่า:

    ขอบคุณอาจารย์สำหรับเทคนิคดีๆครับ

  4. chanchai พูดว่า:

    อาจารย์ทำยังไงถึงจะสอบสภาผ่านรอบแรกครับ ขอทราบเทคนิคครับ

  5. sukanya พูดว่า:

    ก็คงต้องอ่านหนังสือค่ะ
    แต่คำถามที่ตามมาคือจะอ่านอะไร เพราะมันเยอะไม่รู้จะเริ่มอย่างไร
    คิดว่าอย่างวิชาการพยาบาลเด็กเริ่มจากเล่มเด็ก1-3ของสบช ก็พอได้แต่คุณจะต้องupdateความรู้ใหม่และหาเพื่อนอ่านด้วยกันจะได่คุยกันและอภิปรายกันได้ค่ะ ที่สำคัญเวลาอาจารย์ติวควรเข้าทุกครั้งเพราะอย่างน้อยอาจารย์จะเป็นผู้สรุปให้เราบ้างแล้ว และอ่านโจทย์ทำข้อสอบหาคำสำคัญของโจทย์ว่าต้องการอะไรอย่างไร

  6. sukanya พูดว่า:

    จริงๆแล้วมีรายละเอียดมากกว่านี้ท่านใดสนใจติดต่อขอแนวทางการเขียนได้ตลอดค่ะ ยินดีช่วยให้นักศึกษาคิดอย่างมีวิจารณญาณและบริการได้อย่างเอื้ออาทรค่ะ

  7. sukanya พูดว่า:

    ข้อเสนอแนะของอาจารย์นุชนาถดีมากเลยค่ะเป็นเทคนิคที่มีอาจารย์เคยแนะนำค่ะเรียกว่าคิดเเบบย้อนกลับ แต่นักศึกษาต้องระวังนะคะอย่ายึดแผนการรักษาเป็นปัญหานะคะ ส่วนแบบของอาจารย์ศศิโสภิตเป็นแบบที่นักศึกษาต้องรู้จักพยาธิสภาพ และกลไกที่เกิดขึ้นเชื่อมโยงกันค่ะ ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจ ถ้าเราแม่นพยาธิฯนะคะ ต้องอ่านบ่อยๆแล้วจะเก่งขึ้นนะคะนักศึกษา

  8. อ.สุกัญญา ขันวิเศษ พูดว่า:

    ที่เขียนเป็นสิ่งที่เคยทำมาแล้วในครั้งเป็นนักศึกษาแต่ในตอนนั้นจำไม่ได้ว่าอาจารย์ท่านใดได้ให้แนะนำข้อมูลส่วนใดเป็นสิ่งที่รวบรวมมาจากการแนะนำงานในการเขียนNCPตอนเป็นนักศึกษา และบางส่วนเกิดจากการเรียนรู่จากการเรียน เช่นเวลาดูAssign ใช้เวลาประมาณ1-2ชั่วโมงบางคนสงสัยว่าทำไมดูนานจัง(พี่ปี4เคยภามตอนเราเรียนปี2)คำตอบคือเราดูชาร์ตประมาณชั่วโมงครึ่งอีกประมาณครึ่งชั่วโมงใช่ในการคุยกับผู้ป่วย ญาติเพื่อหาข้อมูลและสร้างสัมพันธภาพ อาจารย์ธัสมนเคยบอกเราว่า เวลาดูCase ตอบคำถามอาจารย์ไดไม่ครบแต่ถาสมารถบอกได้ว่าข้อมูลนั้นมาจากไหนอาจารย์ก็จะแนะนำต่อให้ ไม่ใช่อ้างแค่ว่าไม่รู้ซึ่งเกิดมาจากดูข้อมูลไม่ครบ สมัยนั้นเราก็ต้องทำpaperเหมือนเด็กสมัยนี้ วิชาการพยาบาลเด็กตามคู่มือปี3และ4 ข้อมูลเยอะมากเรายังเคยต่อรองอาจารย์เลยว่าจะทำอย่างไนรให้หมดในคืนเดียว อาจารย์(วารุณี)ตอบคำเดียวว่าได้ รู้ผลไหมว่าเป็นอย่างไร ได้สิทำถึง ตี3แถมขึ้นwardตั้งแต่ก่อน 7โมงเช้าเพราะได้ข้อมูลไม่ครบ แล้วยังต้องทำหน้าที่พิเศษ Check รถ ER ,OKยาเสพย์ติด ฯลฯและยังต้องV/Sในห้องที่เราอยู่(ตอนนั้นฝึกเด็ก1เด็ก4) ส่วนเวรบ่ายดึกไม่ได้ดูAssign ขึ้นไปเลือกเคสเลยแถมเตรียมความพร้อมก่อนหน้า แค่ไม่ถึงครึ่งชัท่วโมงรับเวรแล้ว Pre conferenceกับพี่เวรบ่ายเลยพี่เขาให้เราพูดแล้วซักเราพี่ประจำห้องจะซักต่อ บางคนเสริมให้เป็นแบบนี้เลย ก็เลยสงสัยว่าทำไมเด็กตอนนี้อะไรนิดหน่อยก็ไม่ได้ เราไม่เคยให้อาจารย์มาตามเลยว่าฉีดยายังเตรียมยายัง Feedยัง อยู่กับพี่ก็ทำหน้าที่เหมือนเมมเบอร์คนหนึ่ง จำได้เลยตอนนั้นsummer เราเรียนปี3 พี่เถาว์พี่เตียงเรียกเราไปถามว่าเป็นไงบ้าง พี่บอกว่า ถ้ารับเวรผู้ป่วย7โมงครึ่งไม่ทันก็ไปก่อนเวลาไม่มีใครว่า เช้าสุดที่เคยขึ้นคือ 6โมงครึ่ง ข้อมูลไม่ครบผู้ป่วยอาการแย่ในเวรบ่าย(เพื่อนบอก)ข้อมูลจะต้องปรับตามผู้ป่วยไม่ต้องตกใจว่าทำไมเช้าจังเพราะที่เราเจอสมัยนี้นักศึกษาไม่มีความเอื้ออาทรให้กับพี่พยาบาลเลยไม่ใช่Caseตัว ก็ไม่ทำ ไม่รู้เป็นไปได้ไง (เราหัดดูเคสแบบผู้ป่วยสองรายตั้งแต่เรียนพื้นฐาน เตียงจะไม่ว่างต้องมีนักศึกษาดูแลทั้งหมด นอกจาก Med ที่ผู้ป่วยเยอะหรือผู้ป่วยหนักมากอาจารย์จะให้ดูคนเดียว) เราได้ทำอะไรเยอะโดยคิดว่าต้องวิ่งเข้าหาความรู้ ไม่มีคำว่าไม่พร้อม ทำไม่ได้ ไม่มั่นใจ จำได้แทงน้ำเกลือครั้งแรกอาจารย์ถามว่าใครจะทำ อาจารย์มองหน้าเหมือนจะถามว่ามั่นใจหรือเปล่า เราทำท่ามั่นใจ100% แต่ทั้งๆที่กลัวเข็มนะแล้วก็ทำได้ เคยอยู่กับอาจารย์บุศรินเคสที่trauma งานเยอะมาเรียกว่าพ่นยา suctionฉีดยา10โมง ทำแผล ก้นกบกินถึงกระดูกใช้แกมกี่ 2อัน ทำแบบชุดใหญ่ Feed BD+ฟักทอง+ไข่ขาว(หนืดสุดๆ) มียาเที่ยงด้วยเหนื่อยนะ ทำเสร็จเงยหน้าอีกทีก็12.30น.เลย แต่สนุกนะบางวันมีอุจจาระด้วยงานใหญ่เลย ไม่รูว่าเด็กชอบคิดว่าเคสตัวเองหนักเราช่วงแรกก็ว่าหนักแล้ว เจอหนักขึ้นเรื่อยๆไม่เห็นมีwardไหนสบายเลยแต่สนุกทำให้เราเรียนรู้ได้มากขึ้นเรื่อยๆสิ่งที่นักศึกษาเจอในปัจจุบันว่าหนักเราเคยเจอมาแล้ว คุณจำอย่างเดียวว่าอดทนจบแล้วคุณจะได้มีความรู้ไปดูแลผู้ป่วยหลังจากนั้นคุณต้องเรียนเอง หยุดเมื่อไหร่ไม่มีว่าอยู่นิ่งคุณจะล้าหลังทันที เหมือนกับที่บอกว่าเรียนรู้ตลอดชีวิต เราคิดว่ารุ่นพี่ๆก็น่าจะหนักกว่านี้อีก
    เราได้เขียนNurse noteในใบจริงนะต้องเขียนให้อาจารย์กะพี่ดูก่อน จะได้ทำอะไรหรือไม่ขึ้นกับคุณเองเวลาจะฉีดยาเรา เตรียมดูตั้งแต่ก่อนหน้านั้น ดูทุกอย่างAction Side effect วิธีเตรียม ตอบไม่ได้มีแค่คำเดียวอดเตรียมไม่ค่อยจะมีไปหามาให้ทำก่อน เราชักสงสัยว่าเราสปอยนักศึกษาหรือเปล่า เขาถึงเป็นแบบนี้ เราก็ไม่ได้เป็นตั้งแต่แรกทุกอย่างอยู่ที่การฝึกหัดเท่านั้นจริง ขอบคุณอาจารย์ทุกท่านค่ะที่สอนเรามาทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ

  9. อรัญญา บุญธรรม พูดว่า:

    ในการใช้กระบวนการพยาบาลนั้น หลังจากรวบรวมข้อมูลแล้ว ต้องวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ป่วยรายนั้นว่าเป็นปัญหาอย่างไร (หากยังวิเคราะห์ปัญหาไม่ได้ แสดงว่านักศึกษายังไม่มีความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยเพียงพอ เช่น โรค การรักษา ผลการตรวจทางห้องทดลอง พยาธิสรีระ ฯลฯ จึงจำเป็นต้องอ่านหนังสือเพิ่มเติม แล้วค่อยกลับมาวิเคราะห์ปัญหา(ฝึกกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ) โดยเรียงลำดับความสำคัญของปัญหา แล้วนำข้อมูลสนันสนุนของผู้ป่วยมาใส่ในแต่ละปัญหา จากประสบการณ์ตรวจงาน มักพบว่าในแต่ละข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่นักศึกษาเขียนนั้น มักมีข้อมูลสนับสนุนไม่เพียงพอที่จะสรุปปัญหานั้นๆ ซึ่งคาดว่าที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้เนื่องจากนักศึกษาตระหนักในเรื่องการอ่านหนังสือ จึงขาดความรู้ที่เป็นวัตถุดิบในการวิเคราะห์ปัญหา ซึ่งส่งผลให้ไม่ได้คิดวิเคราะห์ปัญหาจากข้อมูลที่มีอยู่จริง แล้วหันใช้วิธีไปหาข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่มีอยู่ในหนังสือ หรือของรุ่นพี่เก่าๆมาเขียน หลังจากนั้นก็มาจับข้อมูลของผู้ป่วยตนเองมาใส่ จึงไม่ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ป่วยด้วยตนเอง ปัญหาที่ลอกมานั้นจึงไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริงของผู้ป่วย ดังนั้น ถ้าเริ่มต้นด้วยข้อวินิจฉัยที่ผิดเพี้ยนไป ไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง ที่เหลือในส่วนอื่นที่ต้องเสียเวลาคิดและเขียน ก็เลยกลายเป็ยขยะทั้งหมด ดังนั้นถึงแม้ศึกษาแม้จะเป็นมือใหม่ก็อยากให้เริ่มทำตามขั้นตอนของกระบวนการพยาบาลจริงๆ จะได้อ่านหนังสือเยอะๆ และได้ฝึกกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณจริงๆ…มือใหม่ ความรู้น้อยก็น่าจะเขียนปัญหาที่ไม่ซับซ้อนได้(ซึ่งอาจารย์ทั้งหลายหลายก็คงจะะเข้าใจ และไม่คาดหวังนักศึกษามือใหม่ให้เขียนปัญหาให้ได้ให้ครบ อะไรที่นักศึกษายังคิดไม่ได้ก็ค่อยสอนกันไป อย่าดุจนนัดศึกษากลัว จนขาดความมั่นใจ แล้วเลยต้องใช้วิธีไปลอกข้อวินิจฉัยที่อื่นมา แล้วมาจับข้อมูลผู้ป่วยตัวเองใส่ … เมื่ิอมีความรู้เพิ่มขึ้นแล้วนักศึกาาก็จะเขียนปัญหาที่ซับซ้อนขึ้นได้เอง

  10. อรัญญา บุญธรรม พูดว่า:

    (เพ่ิ่มเติมอีกนิดค่ะ) ปัญหาข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ไม่สัมพันธ์กับข้อมูลสนับสนุนที่ตนเองพบไม่ได้เกิดเฉพาะกับนักศึกษาพยาบาลมือใหม่นะคะ เพราะจากประสบการณ์ของตนเองที่ตรวจcase study นักศึกษา ปี3 เทอม3 และ ปี 4 เทอม 1(ซึ่งร่วมกันทำ case ละ 5 คน) ก็ยังพบปํํญหาดังกล่าวอยู่ทุกบ่อยๆ(แม้จะเป็นปัญหาทางกายที่นักศึกษาน่าจะคุ้นเคย) .. เกรงว่านักศึกษาเริ่มด้วยวิธีได้ ก็อาจจะชินแล้วเผลอใช้จนติดเป็นนิสัย เลยไม่ได้ฝึกกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณค่ะ