^ Back to Top

ข่าวสารศูนย์ความเป็นเลิศด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

อันตรายของการใช้สารเคมีในเกษตรกรและวิธีการลดสารเคมีในเลือด

ผลการสังเคราะห์ความรู้จากการการใช้สารเคมีในการเกษตรของ เกษตรกรสวนลำใยในจังหวัดจันทบุรี

ปัจจุบันในการเกษตรพบว่า มีการใช้สารเคมีในการเกษตรเพิ่มมากขึ้น จากการให้ฉีดยาหรือสารเคมีในการฆ่าแมลง ฆ่าหญ้า ปุ๋ยสำหรับพืช สารเคมีที่ใช้ในการเกษตรเหล่านี้มีผลต่อการเกิดโรคในบุคคลที่มีการสัมผัส ทำให้เกิดโรคมะเร็ง โรคเบาหวานเพิ่มยิ่งขึ้น จากงานวิจัยของ Lalita2017 พบว่า เกษตรกรชาวสวนลำไย ในเขตจังหวัดจันทบุรี มีการใช้สารเคมีในการเกษตรเพื่อให้ลำใยได้ผลผลิตตามความต้องการ จากการทำวิจัยดังกล่าว มีรายงานพบว่า เมือให้ยาสารเคมีต่าง ๆในการเกษตรนั้น เกษตรกรมีระดับสารเคมีในกระแสเลือดสูงและเป็นระดับที่ผิดปกติ มีโอกาสเกิดอันตรายก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ ในกลุ่มเกษตรกรที่ใช้สารเคมีในการเกษตรนี้ไม่ได้มีการป้องกันร่างกายเมื่อสัมผัสกับสารเคมีที่ใช้ใส่ในพืชผลโดยตรง เช่นขณะที่เตรียมยาไม่ได้ใส่อุปกรณ์ป้องกัน การเก็บยาไม่ถูกที่ ขณะการฉีดพ่นสารเคมีไปที่ต้นไม้พืชผลต่างๆ ไม่ได้มีการป้องกันผ้าคลุมหน้า การใช้ถุงมือ ผ้าปิดจมูก การพ่นยาเหนือลม พฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลให้ระดับสารเคมีในเลือดเพิ่มขึ้น หากยังคงปริมาณสารเคมีในเลือดจำนวนมากที่สูงต่อเนื่อง บุคคลกลุ่มนี้ที่มีโอกาสเกิดโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น เช่น โรคเบาหวาน โรคเนื้อเน่าจากเชื้อแบคทีเรีย เมื่อได้มีการพูดคุยกับกลุ่มเกษตรกรที่มีระดับสารเคมีในเลือดสูงแล้ว ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากการได้รับสารเคมีจากยาต่างๆ และปรับวิธีการพ่นยา การสวมหน้ากากป้องกัน เสื้อผ้า ร่วมกับการดื่มสมุนไพรล้างสารพิษ นั้น หลังจากนั้นกลับไปติดตามระดับสารเคมีในเลือดลดลง ดังนั้น จากผลของงานวิจัยนี้ แสดงให้เห็นว่า การป้องกันตนเองที่จะสัมผัสกับสารเคมี ปุ๋ย ผลิตภัณฑ์ ทางการเกษตรนั้น ควรทำให้มากขึ้น มีการป้องกันตนเองก่อนเตรียมให้ฉีดพ่นยา ให้ยาสารเคมีต่าง ๆ กับพืชผลพืชไร่ ขณะให้ยา และ หลังให้ยา ช่วยทำให้ลดการดูดซึมสารเคมีเข้าสู่ร่างกายด้วยด้วยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีขณะเตรียม การเก็บสารเคมี การผสมยา ใช้ถุงมือ ชุดคลุม หน้ากาก ป้องกันสัมผัสสารเคมี การพ่นยาเหนือลม การชำระล้างร่างกายทันทีหลังเสร็จสิ้นการพ่นยา

          นอกจากนี้การใช้สมุนไพรเพื่อล้างพิษ มีส่วนช่วยทำให้ปริมาณสารเคมีในร่างกายมีระดับลดลง สมุนไพรที่มีคุณสมบัติล้างพิษ ได้แก่ รางจืด ย่านาง ย่านางแดง และมะขามป้อม (กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2554) มีงานวิจัยของทีมวิจัยโรงพยาบาลพระยุพราชเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี (2552) พบว่า การใช้รางจืดดอกสีม่วง แบบยาชง รับประทานขนาด4 กรัม วันละ 2 เวลา หลังอาหารเช้าเย็น ติดต่อกัน 21 วัน ทำให้สารฆ่าแมลงในร่างกายลดลงจนอยู่ระดับปกติได้ นอกจากนี้ในอีกหลายงานวิจัย ได้มีการใช้รางจืดลดพิษพาราควอท พาราไธออนในหนูขาวได้ และพบว่า สามารถลดกำจัดแมลงตกค้างในกระแสเลือดได้ในกลุ่มเกษตรกร และไม่ผลข้างเคียงต่อตับ ไต และเม็ดเลือด   วิธีอื่นที่สามารถใช้ล้างพิษด้วยรางจืด จำนวน5 ใบ ใบเตย2 ใบ ต้มในน้ำ1ลิตร จนน้ำเดือด และนำมาดื่มได้ตลอดวัน ช่วงเช้าถึงเย็น สามารถเติมน้ำเพิ่มได้ จะช่วยในการลดปริมาณสารเคมีในเลือดได้ ซึ่งรางจืดเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีสารในกลุ่ม phenolic acids and chlorophyll มีคุณสมบัติใช้ถอนพิษสารเคมี หรือยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า สามารถทำให้เพิ่มอัตราการรอดชีวิตได้ (ภโวทัย 2558)

ภโวทัย พาสนาโสภณ (2559) สารออกฤทธิ์ในสมุนไพร. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 27(1) กันยายน-กุมภาพันธ์ 120-131

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (2554) คู่มือสมุนไพรล้างพิษ สำหรับประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพ สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

Lalita Dechavoot,et al. (2017) The Collaborative Model Among Multidisciplinary Team and Farmers Can Increase Protective Behaviors and Decrease Severity of Chemical Accumulation in Bloodstream Among Orchardists, Thailand. International Journal of Innovative Science and Research Technology. Vol 3 (5), May 2018