หน่วยงาน :
วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี |
ประเภทผลงาน :
โครงการวิจัย |
ชื่อผลงาน: ความพร้อมในการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของเจ้าหน้าที่อาสากู้ชีพและความพึงพอใจของผู้รับบริการต่องานการให้บริการของเจ้าหน้าที่อาสากู้ชีพในอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี |
|
เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย |
|
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ |
ชื่อผู้ทำผลงาน |
|
|
|
|
 |
นางสาว มัณฑนา เหมชะญาติ |
ผู้ร่วม |
|
กลุ่มสาขาวิชาการ |
: |
ภาควิชาการพยาบาลชุมชน และจิตเวชศาสตร์ |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : |
|
|
เป็นที่ทราบกันดีว่าการรักษาพยาบาลฉุกเฉินจะไม่เกิดผลดีถ้ามีความล่าช้า ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินจะ เสียโอกาสในการอยู่รอด การลำเลียงขนย้ายผู้ป่วย/ผู้บาดเจ็บที่ไม่เหมาะสมทำให้เกิดผลเสียต่อผู้เจ็บป่วยได้อย่างมาก ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (emergency medical service; EMS) จึงต้องมีการระดมทรัพยากรในพื้นที่หนึ่งๆ ให้สามารถช่วยเหลือผู้อาศัยในพื้นที่ให้ได้มีโอกาสขอความช่วยเหลือในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินทั้งในภาวะปกติและเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เพื่อให้การช่วยเหลือลำเลียงขนย้ายผู้เจ็บป่วยเพื่อส่งต่อให้แก่โรงพยาบาลมีความเหมาะสม มีคุณภาพ และรวดเร็ว โดยมีการประสานงานอย่างเป็นระบบ ซึ่งประกอบด้วยบุคลากร เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ ยานพาหนะ ระบบแจ้งเหตุ ระบบประสานงานสถานพยาบาล และระบบ ส่งต่อ ซึ่งผู้ประสบเหตุที่ให้การช่วยเหลือขั้นพื้นฐานนั้นเป็นผู้ที่ผ่านการอบรมจากหน่วยงานที่ได้มาตรฐานและตั้งขึ้นอย่างถูกต้อง มีหน้าที่ให้การปฐมพยาบาลแก่ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินและอุบัติเหตุต่างๆ ก่อนนำส่งโรงพยาบาล ซึ่งบุคคลเหล่านี้ได้แก่ อาสาสมัคร มูลนิธิกู้ภัย กู้ชีพต่างๆ สำหรับอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี มีเจ้าหน้าที่อาสากู้ชีพจำนวน 7 ตำบล รวมทั้งหมด 78 คน ในแต่ละตำบลมีอาสากู้ชีพซึ่งได้รับการฝึกอบรมในการช่วยเหลือผู้ป่วยอุบัติเหตุและผู้ป่วยฉุกเฉิน เพื่อให้สามารถดูแลช่วยเหลือขั้นพื้นฐานและนำผู้รับบริการมาส่งโรงพยาบาลตามระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน คณะผู้วิจัยในฐานะที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี จึงมีความสนใจที่จะศึกษาถึงความพร้อมในการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของเจ้าหน้าที่อาสากู้ชีพ และความพึงพอใจของผู้รับบริการการแพทย์ฉุกเฉินในอำเภอแหลมสิงห์ เพื่อนำผลการศึกษามาปรับปรุงการบริการการแพทย์ฉุกเฉินให้มีประสิทธิผลต่อผู้รับบริการมากที่สุด และเพื่อให้ประชาชนในอำเภอแหลมสิงห์ได้มีโอกาสเข้าถึงการบริการในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินมากขึ้น |
วัตถุประสงค์ของโครงการ |
|
|
1. เพื่อศึกษาความพร้อมในการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของเจ้าหน้าที่อาสากู้ชีพในอำเภอ แหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการต่องานการให้บริการของเจ้าหน้าที่อาสากู้ชีพ ในอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี |
ขอบเขตของโครงการผลงาน |
|
|
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
|
|
|
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา |
|
: |
|
บทคัดย่อ |
|
|
ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเป็นการให้บริการรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ โดยเจ้าหน้าที่อาสากู้ชีพที่ผ่านการอบรมจากหน่วยงานที่ได้มาตรฐาน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมในการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของเจ้าหน้าที่อาสากู้ชีพและความพึงพอใจของผู้รับบริการต่องานบริการการแพทย์ฉุกเฉินในอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เก็บรวบรวมโดยการใช้แบบสอบถามที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วยแบบประเมินความรู้ของเจ้าหน้าที่อาสากู้ชีพ แบบประเมินความสามารถและทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น แบบสอบถามความพร้อมของสิ่งสนับสนุนการให้บริการ และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ ซึ่งเป็นแบบประเมินของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี ดำเนินการเก็บข้อมูลจากเจ้าหน้าที่อาสากู้ชีพจำนวน 58 คนทั้ง 7 ตำบลของอำเภอแหลมสิงห์ และเจ้าหน้าที่กู้ภัยของมูลนิธิสว่างกตัญญูจำนวน 20 คน ในอำเภอแหลมสิงห์ และผู้มารับบริการในระบบการแพทย์ฉุกเฉินในเขตอำเภอแหลมสิงห์ จำนวน 106 คน ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม ถึง 31 กรกฎาคม 2553 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าเจ้าหน้าที่อาสากู้ชีพมีความรู้ในการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินอยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 46.20 ระดับดี คิดเป็นร้อยละ 46.20 และระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 7.60 มีความสามารถและทักษะในการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 12.80 ระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 48.70 ระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 34.60 และระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 3.90 สำหรับความพร้อมของสิ่งสนับสนุนในการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน พบว่าเจ้าหน้าที่อาสากู้ชีพมีความเห็นว่ามีแต่ไม่เพียงพอ ส่วนความพึงพอใจของผู้รับบริการต่องานการให้บริการของเจ้าหน้าที่อาสากู้ชีพ พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับ ดีมาก (X = 3.54, SD = .36) เมื่อจำแนกตามระดับ พบว่าผู้รับบริการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 56.13 ระดับดี คิดเป็นร้อยละ 43.57 และระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ .30 จากผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่าเจ้าหน้าที่อาสากู้ชีพส่วนใหญ่มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับดีถึงดีมาก ผู้รับบริการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีถึงดีมากเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีเจ้าหน้าที่บางส่วนมีความรู้ ความสามารถในระดับน้อย และยังขาดสิ่งสนับสนุนในการปฏิบัติงานเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงควรควรเสริมสร้างความรู้และทักษะการปฏิบัติงานในส่วนที่ขาด เพื่อพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่อาสากู้ชีพทุกคน และเพิ่มเติมสิ่งสนับสนุนให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อไป คำสำคัญ : งานบริการการแพทย์ฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่อาสากู้ชีพ ความพึงพอใจของผู้รับบริการ
|
ดาว์โหลดไฟล์บทคัดย่อ :
|
|
การเผยแพร่งานวิจัยการประชุม |
การเผยแพร่บทความวิจัย |
|
การเผยแพร่บทความวิชาการ |
|
|
อ้างจากแผนปฏิบัติการ : |
บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ |
ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก |
บูรณาการกับรายวิชา :
|
ปีปฏิทิน |
: |
|
ปีการศึกษา |
: |
|
ปีงบประมาณ |
: |
|
วันที่เริ่ม |
: |
วันที่แล้วเสร็จ :
|
แหล่งเงินทุน |
|
|
|
|
ชื่อแฟ้มข้อมูล |
ขนาดแฟ้มข้อมูล |
จำนวนเข้าถึง |
วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด |
Download |
ทั้งหมด 0 รายการ |
|