หน่วยงาน :
วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี |
ประเภทผลงาน :
โครงการวิจัย |
ชื่อผลงาน: ผลกระทบอุทกภัยและแนวทางในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภอุทกภัยในเขตภูมิภาคตะวันออก : กรณีศึกษาจังหวัดจันทบุรี |
|
เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย |
|
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ |
ชื่อผู้ทำผลงาน |
|
|
|
|
 |
นางสาว ศรีสกุล เฉียบแหลม |
หัวหน้า |
 |
นาง โสภา ลี้ศิริวัฒนกุล |
ผู้ร่วม |
 |
นางสาว จีราภา ศรีท่าไฮ |
ผู้ร่วม |
|
กลุ่มสาขาวิชาการ |
: |
ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล และบริหารวิชาชีพ |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : |
|
|
|
วัตถุประสงค์ของโครงการ |
|
|
|
ขอบเขตของโครงการผลงาน |
|
|
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
|
|
|
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา |
|
: |
|
บทคัดย่อ |
|
|
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจและเชิงบรรยาย (survey and descriptive research) เพื่อศึกษา ถึงผลกระทบจากภาวะอุทกภัย ความต้องการการช่วยเหลือ และแนวทางในการให้ความช่วยเหลือประชาชนในด้านต่างๆ เมื่อเกิดภาวะอุทกภัยในเขตจังหวัดจันทบุรี ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ประชาชนในเขตจังหวัดจันทบุรีที่ได้รับผลกระทบจากภาวะอุทกภัยในปีพ.ศ. 2549 ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง (6 ตำบล) และอำเภอท่าใหม่ (1 ตำบล) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายที่รุนแรง ซึ่งคณะผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นเองเพื่อประเมินผลกระทบด้านร่างกาย สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ และใช้แบบประเมินของกรมสุขภาพจิต (GHQ-12 Plus-R) เพื่อประเมินภาวะสุขภาพทางด้านจิตใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตสภาพบ้าน การสัมภาษณ์ และการจัดเวทีชาวบ้านผู้ประสบอุทกภัย วิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าผู้ประสบภัยน้ำท่วมส่วนใหญ่เคยได้รับความเสียหายเมื่อปีพ.ศ. 2542 คิดเป็นร้อยละ 92.7 ระยะเวลาน้ำท่วมนาน 4-6 วัน โดยมีบ้านที่มีระดับน้ำสูงกว่า 100 เซนติเมตร คิดเป็นร้อยละ 55.7 ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนจังหวัดจันทบุรีแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ ระหว่างน้ำท่วม และหลังน้ำท่วม ในช่วงระหว่างน้ำท่วมผลกระทบที่เกิดขึ้นทางด้านร่างกายคือ ประชาชนมีการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ไข้หวัด โรคผื่นคัน น้ำกัดเท้า ท้องร่วง ตาแดง และสัตว์มีพิษกัด ส่วนโรคที่เกิดขึ้นน้อยที่สุด แต่ทำให้ประชาชนเสียชีวิตถึง 3 ราย คือ โรคฉี่หนู สำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นทางด้านจิตใจได้แก่ มีอาการปวดศีรษะ นอนไม่หลับ และหวาดผวา ในช่วงหลังน้ำท่วม ผลกระทบที่เกิดขึ้นทางด้านร่างกายได้แก่ โรคปวดหลังจากการขนย้ายของและทำความสะอาดที่อยู่อาศัย โรคประจำตัวกำเริบได้แก่ โรคตับ โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ ส่วนผลกระทบทางด้านจิตใจ จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 737 คน พบผู้ที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิตจำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 3.53 โดยพบว่ามีอาการเครียด ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ เนื่องจากการไม่มีรายได้ สูญเสียทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบอาชีพ สำหรับความต้องการ การช่วยเหลือของผู้ประสบภัยน้ำท่วม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะก่อนน้ำท่วม ผู้ประสบภัยส่วนใหญ่ต้องการให้ทางจังหวัดมีการประชาสัมพันธ์ที่รวดเร็วและทันการณ์ 2) ระยะขณะน้ำท่วม ผู้ประสบภัย ส่วนใหญ่ต้องการให้หน่วยราชการ เช่น เทศบาล โรงพยาบาล หน่วยงานสาธารณสุข มาให้ความช่วยเหลือในเรื่องอาหาร น้ำดื่ม และยารักษาโรค ให้ทันท่วงทีและทั่วถึงทุกบ้าน และ 3) ระยะหลังน้ำท่วม ผู้ประสบภัย ส่วนใหญ่ต้องการเงินทุนช่วยเหลือในการซื้ออุปกรณ์สำหรับประกอบอาชีพ เงินทดแทนพื้นที่สวน นา ไร่ ที่เสียหาย และต้องการให้มีการขุดลอกท่อ ทางระบายน้ำ เป็นต้น ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำวิจัยครั้งนี้คือเป็นแนวทางในการสร้างบทเรียนเรื่อง “การช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม” ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) บทเรียนการช่วยเหลือก่อนประสบภัยน้ำท่วม 2) บทเรียนการช่วยเหลือขณะประสบภัยน้ำท่วม และ 3) บทเรียนการช่วยเหลือหลังประสบภัยน้ำท่วม โดยหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกัน ซึ่งจะช่วยลดปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากภัยพิบัติน้ำท่วมของจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทยได้ในอนาคต คำสำคัญ : ผลกระทบอุทกภัย แนวทางในการให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัย |
ดาว์โหลดไฟล์บทคัดย่อ :
|
|
การเผยแพร่งานวิจัยการประชุม |
การเผยแพร่บทความวิจัย |
|
การเผยแพร่บทความวิชาการ |
|
|
อ้างจากแผนปฏิบัติการ : |
บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ |
ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก |
บูรณาการกับรายวิชา :
|
ปีปฏิทิน |
: |
|
ปีการศึกษา |
: |
|
ปีงบประมาณ |
: |
|
วันที่เริ่ม |
: |
วันที่แล้วเสร็จ :
|
แหล่งเงินทุน |
|
|
|
|
ชื่อแฟ้มข้อมูล |
ขนาดแฟ้มข้อมูล |
จำนวนเข้าถึง |
วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด |
Download |
ทั้งหมด 0 รายการ |
|