วิธีการสอนต่างๆ ในวิชาวิจัยทางการพยาบาล

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี วิจัยในชั้นเรียน วิชา พย. 1329 วิจัยทางการพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2553 เรื่อง วิธีการสอนต่างๆ ในวิชาวิจัยทางการพยาบาล   โดย มัณฑนา เหมชะญาติ, RN, PhD.   ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา                 การเรียนการสอนภาคทฤษฎีในชั้นเรียน อาจารย์ผู้สอนต้องใช้วิธีการสอนที่หลากหลายเพื่อให้นักศึกษามีความสนใจในเนื้อหา ไม่เบื่อหน่าย และเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนในแต่ละเรื่องนั้น  สำหรับวิชา พย. 1329 การวิจัยทางการพยาบาล เป็นรายวิชาที่มีเนื้อหามากสำหรับการเรียนการสอนภาคทฤษฎี จำนวน 2 หน่วยกิต  และนักศึกษาต้องมีความรู้ความเข้าใจภาคทฤษฎีก่อนการฝึกทำวิจัยในภาคทดลอง                 ในการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2553 นี้ อาจารย์ผู้สอนภาคทฤษฎี ได้มีเลือกใช้วิธีการสอนที่หลากหลายแทนการบรรยาย เพราะพบว่านักศึกษาจำนวนไม่น้อยหลับในขณะที่มีการเรียนการสอน  และเมื่อเสร็จสิ้นการสอนแล้วได้มีการติดตามผลการเรียนรู้ตามการรับรู้ของนักศึกษา เพื่อการนำผลการศึกษาครั้งนี้ไปปรับปรุงการเรียนการสอนภาคทฤษฎีต่อไป วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความตื่นตัวในการเรียนรู้และไม่หลับในขณะเรียน เพื่อฝึกทักษะการอ่านแก่นักศึกษา [...]

กำลังใจให้น้องใหม่

ช่วงนี้เป็นช่วงเริ่มต้นของนักศึกษาน้องใหม่ ปีหนึ่ง เพราะคุณจะต้องปรับตัวค่อนข้างสิ้นเชิงบางคนต้องการเรียนบางคนเรียนเพราะไม่มีที่เรียน บังเอิญสอบติด ไม่อยากเรียนแต่ที่บ้านให้เรียนหลายเหตุผลต่างกันไป ประสบการณ์การมาเรียนที่นี่ให้อะไรเราหลายอย่าง อย่างเราเริ่มต้นจากเด็กนักเรียนม.ปลาย บ้านไม่สมบูรณ์(พ่อมีแม่เยอะมากแต่แม่เราเป็นแม่คนโต)พ่อกับแม่ใหม่(คนล่าสุดตอนนั้นอายุเป็นพี่เราได้)เขาบอกว่าจะเรียนอะไรได้หน้าตาอย่างนี้กลับไปอยู่บ้านเป็นชาวสวนได้อย่างเดียว(คิดในใจเวลาเรียนใช้หน้าตาด้วยหรือน่าจะใช้สมองความสามารถมากกว่า)ก็เลยคิดว่าฉันจะเรียนให้ดูไม่ได้ตั้งใจเรียนที่นี่แต่เพราะคำดูถูก ใจอยากเรียนพฤกษศาสตร์นะ แต่สงสัยว่าทำไมใครๆถึงว่าเรียนไม่ได้ เพราะอยากเรียนแต่ไม่รู้สมัครเข้าอย่างไรตอนนั้นเงียบมากไม่มีข่าวเลย เพื่อนเราคนหนึ่งจึงชวนมาสมัคร(เธอไม่ได้เรียน)เรามาตามเพื่อนสมัครวันสุดท้ายตอนนั้นใช่ระบบสอบสัมภาษณ์ตรงจังหวัดจันทบุรีรับอำเภอละ 1คนยกเว้นเมืองรับ 2คน กติกาสมัครแล้วฝึกงาน10วันโรงพยาบาลที่เขากำหนดแล้วยื่นคะแนนเอนทรานซ์ ตอนนั้นมาฝึกทั้งพยาบาลและสาธารณสุขรวม20คน ฝึก3วันเหลือ 15สุดท้ายเหลือประมาณ7-8คน พี่ให้ทำงาน ERได้ดูแผลตาฉีกอุบัติเหตุ แผลเบาหวาน สวนอุจจาระเพียบเห็นเลือดแล้วตื่นเต้นกินข้าวได้น้อยลง(ฝึก10วันน้ำหนักลดอย่างน้อย3กิโล)มีการบ้านด้วย OPDง่ายก็หาบัตรมีเทคนิคหา IPDฝึกทำPlan ซักประวัติผู้ป่วยรับใหม่หัดเขียนข้อมูลอาการสำคัญ ประวัติเจ็บป่วยทำเย็นส่งเช้าก่อนเที่ยงสนุกนะแต่เครียด จากนั้นก็สอบสัมภาษณ์ เราติด1ใน3 เข้าสัมภาษณ์เจอการแก่งแย่งด้วยเพราะเพื่อนที่ฝึกมาด้วยกันเขาไม่พูดด้วยไม่รู้สาเหตุแถมญาติเขายังมาพูดอีกว่าเรานะเรียนมหิดลได้น่าจะไปเรียน(อ้าวฉันไม่ได้เลือกคณะนั้นนี่ มันเลยกำหนดมาแล้วจะพูดเพือ่อะไร) ฉันก็ไม่ได้ทำอะไรผิดทำไมไม่คุยกันล่ะงง เข้าไปสัมภาษณ์อาจารย์ผอ.วิทยาลัย ผอ.พระปกเกล้า รองนายแพทย์สสจ.อาจารย์โรงเรียนต่างๆอีกประมาณ3-4โรงเรียน ผู้เข้าสัมภาษณ์3คน อาจารย์จะถามน่าจะดูความตั้งใจนะ เช่นจะเรียนได้หรือ จะทนได้ไหมกับความลำบาก(คิดว่าเล็กน้อยบ้านฉันเลี้ยงมาให้ดูแลตนเอง ง่ายๆ อาจารย์ก็ถามไปเรื่อยๆ ฉันจำได้แค่ว่าโอกาสเป็นของทุกคนเราเป็นคนเลือกโอกาสไม่ใช่รอโอกาส และคนอื่นเรียนได้ทำไมฉันจะเรียนไม่ได้)คิดแค่นี้แล้วก็ได้มาเรียน พอรู้ว่าได้เรียนป้าถามเลยว่าอยากเรียนเหรอ เปล่า อยากเรียนพฤกษศาสตร์ม.เกษตร ป้าบอกส่งเรียนเอาไหมขออย่างเดียวอย่าเรียนเลย เห็นพี่สาวทรมานเป็นเดือนร้องไห้ทุกวันเลยเครียด เลยบอกป้าว่าขนาดเจ๊ยังเรียนจนจบเลยแล้วทำไมเราจะเรียนไม่ได้ คงไม่ถึงตายหรอก ป้าบอกจะเปลี่ยนใจก็บอกป้าจะส่งเรียน 4ปีเลย วันแรกเข้ามาที่นี่น้าก็สอนให้เดินรางน้ำไม่เข้าใจแต่ก็ทำ มาถึงพี่ก็ดุให้ทำอะไรก็ไม่รู้ต๊องๆไม่เคยทำ (คิดแค่ว่าคนอื่นเรียนได้ทำไมเราจะทำไม่ได้ สอนตัวเองอย่างนี้มาตลอด)ช่วงแรกหนักนะเป็นหัวหน้าห้องทำทุกอย่างตั้งแต่เชคชื่อถึงเป็นผู้ประสานงานทุกวิชาทุกการสอบ [...]

Tags: ,

เรื่องเล่าจากการประชุม R 2 R ปี 2553

                จากการเข้าร่วมประชุม R 2 R ระหว่างวันที่ 14-16 กรกฎาคม 2553 ที่ผ่านมานี้ มีเรื่องที่ได้ฟัง ได้อ่านแล้วอยากเล่าต่อให้ผู้ที่ไม่ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ซึ่งคงเป็นส่วนเสี้ยวเดียวเท่านั้น                 ในฐานะที่เป็นวิทยากรและพี่เลี้ยงให้กับบุคลากรสาธารณสุข ในการทำวิจัย R 2 R อย่างต่อเนื่องในช่วง 3-4 ปี ที่ผ่านมา เมื่อมาเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ คิดว่าได้เรียนรู้อย่างมาก และยังมีอะไรที่น่าทำต่อไปอีกมากมาย ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้มีกระบวนการพัฒนาคน และพัฒนางานอย่างมั่นคง ยั่งยืน ท่ามกลางความหนักหน่วงในภารกิจเฉพาะหน้า ที่แต่ละคนมีอยู่  แต่อย่างไรก็ตาม การทำงานอย่างมีความสุข ก่อให้เกิดปัญญา และมีความก้าวหน้าทั้งคนทั้งงานก็ยังเป็นความฝันที่เป็นจริงได้                 การได้ฟังการบรรยาย จากปรมาจารย์ เช่น ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช ทำให้คนฟังเห็นว่าโดยกระบวนการ R 2 R สามารถเปลี่ยนงานประจำที่หนัก ที่น่าเบื่อ เป็นงานที่สนุก และสามารถดึงศักยภาพในตัวและทีมคนทำงานออกมาได้ ประกอบกับการได้รับฟังการนำเสนอผลงานของคนทำงานกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะฝ่ายสนับสนุน เช่น คุณอำนวย ฉางแก้ว [...]

Tags: , , ,

สรุปประเด็นสำคัญการเตรียมนักศึกษา ปี 4 สอบสภาฯ ของฝ่ายวิชาการ ปีการศึกษา 2551-2552

1. การชี้แจง (ย้ำเตือน) นักศึกษา ตั้งแต่เปิดภาคเรียน ถึงความสำคัญ การกำหนดเป้าหมาย และการหาวิธีการร่วมกันของอาจารย์และนักศึกษาในการเตรียมสอบสภาฯ 2.  การจัดกิจกรรมเตรียมสอบสภาฯ หลังจากที่นักศึกษาเรียนครบทุกวิชาตามที่หลักสูตรกำหนด       2.1 การจัด Elective ให้นักศึกษาได้ฝึกทั้งทักษะปฏิบัติการพยาบาล และการทบทวนความรู้ โดยเลือกแหล่งฝึกที่มีพยาบาลพี่เลี้ยงช่วยสอนให้ได้ เช่น หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม ศัลยกรรม และอุบัติเหตุ ในโรงพยาบาลศูนย์ โดยกำหนดให้มีการ conference case study และ conference ประจำวันตลอดการฝึก      2.2 การจัดกิจกรรมสอนเสริม                - ทำ Focus group นักศึกษาปี 4โดยแยกตาม GPA แบ่งเป็น กลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน กลุ่มละประมาณ 10 คน เพื่อสร้างความตระหนักในการเอาจริงเอาจังแก่นักศึกษาในการเตรียมสอบ และเพื่อให้อาจารย์ได้รู้ความต้องการของนักศึกษาแต่ละกลุ่ม รวมทั้งเป็นการปรับความคิดของอาจารย์และนักศึกษาให้ไปในทิศทางเดียวกัน                -  แบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 8-10 คน โดยคละนักศึกษาที่มีผลการเรียนดี [...]

Tags: , , , ,

ประวัติการสร้างซุ้มพระวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

  หลายๆท่านเมื่อผ่านประตูทางเข้าวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรีมา จะเห็นซุ้มพระตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่มีหลายท่านต้องการทราบประวัติจึงขออนุญาตเล่าประวัติการก่อสร้างดังนี้ เนื่องด้วยนายทองใหญ่ วัฒนศาสตร์ ซึ่งในช่วงนั้น(พ.ศ.2540)เป็นหัวหน้าชั้นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์(ต่อเนื่อง)ชั้นปีที่ 2 รุ่นที่ 7มีความคิดว่าต้องการจะสร้างสิ่งที่เป็นที่ระลึกของรุ่นให้แก่ทางวิทยาลัยและเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าทางวิทยาลัยยังไม่มีซุ้มพระเพื่อเป็นที่เคารพสำหรับบุคลากรภายในวิทยาลัยจึงได้ปรึกษากับเพื่อนๆ ในชั้นเรียนซึ่งทุกคนเห็นดีด้วย จึงนำเรื่องไปปรึกษาอาจารย์ประจำชั้นคืออาจารย์ทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์และอาจารย์อำพร เก็จวลีวรรณ ซึ่งท่านทั้งสองก็เห็นดีด้วยจึงเสนอเรื่องไปยังท่านผู้อำนวยการซึ่งขณะนั้นได้แก่อาจารย์เปรมปรีย์ อรรฆยจินดา ท่านเห็นดีด้วย จึงคิดวิธีที่จะหาปัจจัยมาใช้ในการก่อสร้างโดยในตอนแรกคิดว่าจะมีการทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อจะได้นำปัจจัยมาสร้างจึงได้ไปปรึกษาท่านพระอาจารย์ฟัก สันติธัมโม ท่านบอกว่าถ้าทอดผ้าป่าแล้วคนไม่ตั้งใจทำจริงก็จะไม่ได้ประโยชน์ จึงเปลี่ยนวิธีใหม่มาเป็นการขอบริจาคเงินจากผู้ที่มีจิตใจกุศลจริง ซึ่งก็ได้เงินบริจาคจากนักศึกษา คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ ศิษย์เก่า และผู้ที่มีใจบุญทั้งหลายร่วมด้วยช่วยกันโดยมีคณะนักศึกษาพยาบาลศาสตร์(ต่อเนื่อง)ชั้นปีที่ 2 รุ่นที่ 7 เป็นผู้ประสานงานซึ่งอีกท่านหนึ่งที่ต้องกล่าวถึงคือพี่แฉล้ม โชติวรรณ      (พี่แหล้ม) ของน้องๆ ช่วยเป็นแม่งานอีกแรง สำหรับองค์พระที่ประดิษย์ฐานอยู่ชื่อว่าพระพุทธสุโขโพธิ์ทอง ซึ่งได้อันเชิญมาจากวัดอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี โดยพี่แหล้มเป็นผู้ประสานให้ พวกเรา(นักศึกษาต่อเนื่องชาย) ก็ได้เดินทางไปอันเชิญมา ซึ่งค่าใช้จ่ายในการสร้างซุ้มพระครั้งนี้ที่ได้รับบริจาคมาประมาณ 440,000 บาท และมีพิธีทำบุญเมื่อเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นช่วงที่นักศึกษาพยาบาลศาสตร์(ต่อเนื่อง)ชั้นปีที่ 2 รุ่นที่ 7 สำเร็จการศึกษา และได้มีการย้ายมาที่ใหม่ซึ่งไม่ไกลจากบริเวณเดิมเนื่องจากมีการก่อสร้างอาคารเรียน 6 [...]