หน้าหลัก
กรอบแนวทางการดำเนินการ
  > กระบวนการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน
  > กรอบที่ 1
  > กรอบที่ 2
  > กรอบที่ 3
  > กรอบที่ 4
  > สรุปกรอบแนวทางการดำเนินการ
แผนการดำเนินกิจกรรม
  > กรอบที่ 1
  > กรอบที่ 2
  > กรอบที่ 3
  > กรอบที่ 4
พื้นที่ดำเนินการ
   เกาะขวาง
    >> รายงานศักยภาพตำบล
        >>> ครั้งที่ 1
    >> ประชุมกับพื้นที่
        >>> ปฏิบัติการที่ 1
        >>> ปฏิบัติการที่ 2
        >>> ปฏิบัติการที่ 3
   ตะกาดเง้า
    >> รายงานศักยภาพตำบล
        >>> ครั้งที่ 1
    >> ประชุมกับพื้นที่
        >>> ปฏิบัติการที่ 1
        >>> ปฏิบัติการที่ 2
        >>> ปฏิบัติการที่ 3
   ท่าโสม
    >> รายงานศักยภาพตำบล
        >>> ครั้งที่ 1
    >> ประชุมกับพื้นที่
        >>> ปฏิบัติการที่ 1
        >>> ปฏิบัติการที่ 2
        >>> ปฏิบัติการที่ 3
กระดานถาม - ตอบ
รูปกิจกรรม

โครงการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนโดยชุมชนเพื่อชุมชน



วัตถุประสงค์
     เพื่อสนับสนุนองค์กร ภาคี เครือข่ายในการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนผ่านกระบวนการสร้างกลไกและพัฒนา ระบบต่างๆในการดูแลสุขภาพกลุ่มประชากรสำคัญในชุมชนรวมทั้งการพัฒนาวิธีการทำงานแนวปฏิบัติและบทบาท หน้าที่ขององค์กรหลักในระดับชุมชน ให้สร้างการทำงานแบบภาคประชาชนมีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของได้ ตลอดจน การ พัฒนาบทบาทหน้าที่และงานของอาสาสมัครในพื้นที่ในการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพของชุมชนอย่าง ครอบคลุม

เป้าหมาย
     เชิงปริมาณ : เกิดกระบวนการทำงานร่วมกันขององค์กรหลักในระดับชุมชนเพื่อพัฒนากลไกและระบบต่าง ๆ ในการดูแลสุขภาพกลุ่มประชากรสำคัญในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนตำบลทั้งหมดในระยะเวลา 3 ปี
     เชิงคุณภาพ : เกิดชุคความรู้สำคัญในการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนและพื้นที่ที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตลอดจน เครือข่ายการทำงานร่วมกันเต็มพื้นที่ของการดำเนินการภายใน 3 ปี

ตัวชี้วัด
     1. ระบบสุขภาพชุมชน ที่เน้นการดูแลกลุ่มประชากรสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพประชาชนในชุมชน โดยมีการทำ งานร่วมกันขององค์กรหลักในระดับพื้นที่ (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น-PCU/โรงพยาบาลชุมชน-องค์กรชุมชน) ไม่น้อยกว่ารเอยละ 10 ของจำนวนตำบลทั้งหมด ในระยะเวลา 3 ปี
     2. เกิดกลไกและระบบการดูแลสุขภาพกลุ่มประชากรสำคัญในชุมชนที่มีการจัดสรรภารกิจและบทบาทหน้าที่ของ องค์กรหลักในการทำงานร่วมกัน จำนวน 78 แห่ง
     3. เกิดพื้นที่ที่เป็นศูนย์การเรียนรู้และชุดความรู้ในการดำเนินงานระบบสุขภาพชุมชน จำนวน 44 แห่ง (สถาบัน ละ 4 แห่ง)

แนวทางการดำเนินงาน
     1. ผลักดันให้เกิดกระบวนการในการสร้างกลไกและระบบสุขภาพกลุ่มประชากรสำคัญในชุมชนโดยพัฒนาความ ร่วมมือระหว่างองค์กรหลักในระดับตำบล
     2. วิจัยและพัฒนาชุดความรู้ที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพกลุ่มประชากรสำคัญในชุมชน
     3. จัดทำข้อเสนอในการพัฒนานโยบายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างกลไกและระบบการดูแลสุขภาพกลุ่มประชากรสำคัญในชุมชนและผลักดันข้อเสนอเพื่อนำสู่การใช้ประโยชน์ในเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
     4. พัฒนาสมรรถนะขององค์กรหลักในการนำใช้เครื่องมือ แนวปฏิบัติในการทำงานดูแลสุขภาพชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     5. ถอดบทเรียนเชิงประจักษ์และแลกเเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อต่อยอดและขยายพื้นที่การทำงาน

ผลลัพธ์
     1. แผนที่ศักยภาพองค์กรร่วมพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน ประกอบด้วย
        1.1 พื้นที่พัฒนาระบบสุขภาพชุมชน เช่น พื้นที่ระดับอำเภอ จังหวัด
        1.2 เครือข่ายที่พัฒนาระบบสุขภาพชุมชน เช่น เครือข่ายตำบลที่มีกองทุนสุขภาพระดับชุมชน เครือข่ายขององค์กรร่วมสร้างพยาบาลของชุมชน เครือข่ายภาคประชาชนที่ทำแผนแม่บทชุมชน เครือข่ายหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิที่พัฒนานวัตกรรมการดูแลสุขภาพชุมชน เครือข่ายสมัชชาสุขภาพระดับตำบล เป็นต้น
        1.3 ฐานข้อมูลของพื้นที่ที่องค์กรหลักในระดับตำบลมีศักยภาพในการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนอย่างต่อเนื่อง
     2. ชุดความรู้ที่เกี่ยวกับการพัฒนากลไกและระบบการดูแลสุขภาพกลุ่มประชากรสำคัญในชุมชน เช่น
        2.1 กระบวนการในการพัฒนาแผนสุขภาพระดับตำบลแบบมีส่วนร่วม
        2.2 โครงสร้างระบบการดูแลสุขภาพกลุ่มประชากรสำคัญในชุมชน(ผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน ผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุเป็นต้น)
        2.3 ระบบสนับสนุนการพัฒนาสุขภาพชุมชน (ระบบข้อมูล ระบบกองทุน ระบบการพัฒนาอาสาสมัครระบบการเฝ้าระวังและควบคุมโรคท้องถิ่น ระบบการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาเด็กเป็นต้น)
        2.4 เครื่องมือในการทำงานพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (การวิจัยเชิงคุณภาพ การค้นหาทุนทางสังคมการศึกษา
ชุมชนการออกแบบสุขภาพชุมชน การพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ การพัฒนาแผนสุขภาพตำบลแบบมีส่วนร่วมการจัดทำแผนแม่บทชุมชน เป็นต้น)
        2.5 วิธีการทำงาน/แนวปฏิบัติบทบาทหน้าที่ขององค์กรหลักในระดับตำบลในการทำงานพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน ตลอดจนกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในการทำงานร่วมกัน
        2.6 แนวทางการจัดการการเงินการคลังของชุมชนเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนตามบริบทของโครงสร้างองค์กรหลักของชุมชน (ท้องถิ่นที่รับโอนสถานีอนามัย หรือ มีโรงพยาบาลตำบล หรือหน่วยบริการสุขภาพรูปแบบอื่นๆ)
        2.7 ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนทั้งนี้สอดรับกับเงื่อนไขของแต่ละพื้นที่
     3. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะองค์กรหลักในระดับตำบล ในการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน
        3.1 คู่มือการพัฒนาสมรรถนะขององค์กรหลักในระดับตำบล ในการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน
        3.2 กระบวนการพัฒนาแผนสุขภาพตำบลแบบมีส่วนร่วมที่ยอมรับได้
     4. ข้อเสนอในการพัฒนานโยบายเพื่อสนับสนุนและผลักดันให้เกิดกระบวนการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนสำหรับผู้เกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายใน 2 ระดับ ได้แก่
        4.1 ระดับประเทศ โดยองค์กรกำหนดนโยบาย เช่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สปสช. กระทรวงพัฒนาความมั่นคงของสังคมและมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น
        4.2 ระดับตำบล โดย 3 องค์กรหลัก
     5. ตำบลที่เป็นพื้นที่/ศูนย์การเรียนรู้เรื่องการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนในการขยายการดำเนินการองค์กรและเครือข่ายร่วมพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนเพื่อต่อยอดการทำงาน


Power by Policy & QA Team Phrapokklao Nursing College • CommunityI3eeI2v1.25